ความหลากหลายของพืชกาฝากมะม่วง (Dendrophthoe pentandra (L.) Miq.) และพรรณไม้อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า วัดไกลกังวล (เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม) อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความหลากหลายของพืชกาฝากมะม่วง ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า วัดไกลกังวล ในพื้นที่ 600,000 ตารางเมตร (375 ไร่) พบพืชกาฝาก วงศ์ Loranthaceae ชนิดกาฝากมะม่วง (Dendrophthoe pentandra (L.) Miq.) เกาะอาศัยอยู่บนไม้ต้นที่เป็นพรรณไม้อาศัย 8 ชนิด โดยพืชกาฝากมะม่วง ขึ้นอยู่บนพรรณไม้อาศัยสูงจากพื้นดิน เฉลี่ย 7.63 เมตร สำหรับความหลากหลายของไม้ต้นที่เป็นพรรณไม้อาศัย พบ 5 วงศ์ 8 สกุล 8 ชนิด ได้แก่ วงศ์ 1) Casuarinaceae มี 1 ชนิด คือ สนทะเล (Casuarina equisetifolia L.) 2) Guttiferae มี 1 ชนิด คือ กระทิง (Calophyllum inophyllum L.) 3) Fabaceae มี 4 ชนิด คือ ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) ขี้เหล็ก (Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby) ฉนวน (Dalbergia nigrescens Kurz) และประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd.) 4) Meliaceae มี 1 ชนิด คือ สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A.Juss.) และ 5) Rhamnaceae มี 1 ชนิด คือ พุทรา (Ziziphus jujuba Mill.) ไม้ต้นที่เป็นพรรณไม้อาศัย 8 ชนิด จำนวน 221 ต้น โดยทั้ง 8 ชนิด มีพืชกาฝากมะม่วงอาศัยอยู่ 15 ต้น จำนวน 48 กอ มีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 3.20 กอต่อต้น ส่วนไม้ต้นที่เป็นพรรณไม้อาศัย มี 221 ต้น มีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 0.03683 ต้นต่อ 100 ตารางเมตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”