พฤติกรรมของโอโซนในบรรยากาศจากการใช้ประโยชน์ที่ดินแตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของโอโซนในบรรยากาศจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยทำการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3 วัน ในพื้นที่ศึกษาที่มีการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เขตอุตสาหกรรม พื้นที่เขตเมือง และพื้นที่เขตชนบท พบว่า ปริมาณความเข้มข้นก๊าซโอโซนเฉลี่ยในรอบวันมีค่าสูงสุดในพื้นที่เขตชนบท โดยมีค่า 22.20±9.66 ppb รองลงมาคือพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 16.71±5.21 ppb และพื้นที่เขตเมือง 5.54±3.25 ppb ในส่วนการเปลี่ยนแปลงปริมาณความเข้มข้นก๊าซโอโซนในรอบวันของพื้นที่ศึกษาทั้งพื้นที่เขตอุตสาหกรรม และพื้นที่เขตเมืองมีค่าสูงสุดในช่วงเวลา 14.00 นาฬิกา ส่วนพื้นที่เขตชนบทมีค่าสูงสุดในช่วง 16.00 นาฬิกา พื้นที่เขตอุตสาหกรรมมีปริมาณความเข้มข้นต่ำสุดในช่วงเวลา 07.00 นาฬิกา พื้นที่เขตเมืองและพื้นที่เขตชนบทมีค่าต่ำสุดในช่วง 06.00 นาฬิกา ซึ่งปริมาณความเข้มข้นก๊าซโอโซนจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีความเข้มแสงอาทิตย์สูง และลดลงเมื่อความเข้มแสงต่ำลง โดยเป็นผลจากปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัล ในส่วนการตรวจวัดมลสารในพื้นที่ศึกษา พบว่า พื้นที่เขตชนบทมีปริมาณความเข้มข้นก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนเฉลี่ยในรอบวันต่ำที่สุด 2.15±0.98 ppb พื้นที่เขตอุตสาหกรรมรองลงมา 11.08±3.99 ppb และพื้นที่เขตเมืองมีปริมาณสูงที่สุด 90.03±43.45 ppb โดยปริมาณดังกล่าวเป็นผลจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ ดังนั้นจากการศึกษาในด้านต่างๆ พบว่า พฤติกรรมของโอโซนในบรรยากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน และช่างเวลาที่ต่างกันของวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของมลสาร และการเกิดปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัลของก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนในบรรยากาศภายในบริเวณพื้นที่ด้วย
คำสำคัญ: โอโซน มลพิษทางอากาศ อุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดิน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”