อิทธิพลของอุณหภูมิในการเผาถ่านต่อค่าความถ่วงจำเพาะในไม้ใบกว้าง 10 ชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาต่อค่าความถ่วงจำเพาะของไม้มะม่วง ยูคาลิปตัส ยางพารา กระถิน กระถินณรงค์ มะขาม รัง เต็ง กระบก และโกงกางใบเล็ก รวม 10 ชนิด เมื่อใช้อุณหภูมิในเตาเผา 250, 300, 400, 500 และ 600 องศาเซลเซียส และใช้ตัวอย่างในตำแหน่งตามแนวรัศมีจากเปลือกถึงใจไม้ที่ตำแหน่งใกล้เปลือกไม้ ระหว่างเปลือกกับใจไม้ และใกล้ใจไม้
ผลการทดลอง ไม้ที่มีค่าความถ่วงจำเพาะเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โกงกางใบเล็กมีค่า 0.840 รองลงมาได้แก่ กระบก เต็ง รัง มะขาม กระถินณรงค์ กระถิน ยางพารา ยูคาลิปตัส และมะม่วง ซึ่งมีค่าความถ่วงจำเพาะเฉลี่ย 0.839, 0.759, 0.736, 0.703, 0.690, 0.657, 0.636, 0.595 และ 0.488 ตามลำดับ พบว่า ปัจจัยอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา 250, 300, 400, 500 และ 600 องศาเซลเซียส มีอิทธิพลต่อค่าความถ่วงจำเพาะของถ่านไม้ ซึ่งค่าความถ่วงจำเพาะเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.01) และมีแนวโน้มลดลงเมื่อใช้อุณหภูมิในการเผาสูงขึ้น สำหรับปัจจัยตำแหน่งที่ใกล้เปลือกไม้ ระหว่างเปลือกกับใจไม้ และใกล้ใจไม้ มีผลต่อค่าความถ่วงจำเพาะของไม้และถ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.01) มีแนวโน้มของค่าความถ่วงจำเพาะลดลงจากเปลือกถึงใจไม้ ยกเว้นไม้มะขามมีแนวโน้มของค่าความถ่วงจำเพาะเพิ่มขึ้นจากเปลือกถึงใจไม้ค่าสัมประสิทธิ์การกำหนดระหว่างเนื้อไม้กับถ่านที่ระดับอุณหภูมิการเผา 250, 300, 400, 500 และ 600 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.97, 0.77, 0.80, 0.81 และ 0.80 ตามลำดับ ได้แสดงอิทธิพลการเผามี ผลต่อความถ่วงจำเพาะของไม้มาก เมื่ออุณหภูมิที่ใช้เผาไม้สูงขึ้นถึงระดับหนึ่งจะคงที่ โดยอุณหภูมิที่ใช้เผาไม้ให้กลายสภาพเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์นั้นต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากต้องการผลผลิตของถ่านที่มีค่าความถ่วงจำเพาะสูง ควรเผาถ่านที่อุณหภูมิ 400 ถึง 500 องศาเซลเซียส เพราะหากใช้อุณหภูมิในการเผาสูง จะทำให้ค่าความถ่วงจำเพาะของถ่านไม้ ลดลงมาก อย่างไรก็ตามไม้ที่มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงจะทำให้ได้ถ่านที่มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงเช่นเดียวกัน
คำสำคัญ: อุณหภูมิในการเผาถ่าน ค่าความถ่วงจำเพาะ ไม้ใบกว้าง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”