ชนิด และจำนวนชิ้นขยะ ในบริเวณหาดโละดาลัม เกาะพีพีดอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล มีแนวโน้มที่จะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว และส่งผลทำให้ประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยวลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด จำนวนชิ้นขยะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนชิ้นขยะในบริเวณอ่าวโละดาลัม เกาะพีพีดอน เก็บข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ทั้งในช่วงวันธรรมดาวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ผลการศึกษาพบว่า จากพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 15,000 ตารางเมตร พบปริมาณขยะเฉลี่ย 5.14 ชิ้น/100 ตารางเมตร/วัน โดยพบขวดพลาสติกมากที่สุด รองลงมาคือ ถุง/เศษพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก ตามลำดับ โดยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนชิ้นขยะ ได้แก่ ประเภทกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งพบขยะบริเวณกิจกรรมอาบแดดมากที่สุด (7.15 ชิ้น/100 ตารางเมตร/วัน) ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวก โดยพบขยะบริเวณเตียงอาบแดดมากที่สุด (6.56 ชิ้น/100 ตารางเมตร/วัน) ช่วงเวลา พบว่าขยะช่วงกลางคืน (6.72 ชิ้น/100 ตารางเมตร) มากกว่าช่วงกลางวัน (3.65 ชิ้น/100 ตารางเมตร) และประเภทกลุ่มวัน พบว่าขยะในวันหยุดนักขัตฤกษ์มีจำนวนมากที่สุด (10.28 ชิ้น/100 ตารางเมตร/วัน) โดยเมื่อพิจารณาตามค่ามาตรฐาน พบว่าหาดโละดาลัมอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยขยะที่พบก่อให้เกิดทัศนอุจาดที่แย่ต่อนักท่องเที่ยว ส่งกลิ่นเหม็นตามชายหาด ดังนั้นในการจัดการขยะ ควรเน้นบริเวณกิจกรรมอาบแดด กับบริเวณเตียงอาบแดด และควรมีการจัดการขยะในช่วงกลางคืนหลังเลิกให้บริการ นอกจากนี้ควรมีการขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวในการทิ้งขยะ รวมทั้งการออกแบบป้ายสื่อความหมายให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงผลกระทบจากขยะ
คำสำคัญ: ขยะ หาดโละดาลัม เกาะพีพีดอน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”