ความหลากหลายของไลเคนในสังคมพืช อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

Main Article Content

วันวิสา พิลึก
ประสงค์ สงวนธรรม
สุระ พัฒนเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดและปริมาณไลเคนในสังคมพืชเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยการเก็บตัวอย่าง 4 ประเภทป่า ได้แก่  ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ระยะเวลาศึกษา พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - มกราคม พ.ศ. 2556 เก็บรวบรวมตัวอย่างไลเคนบนเปลือกไม้และบนพื้นป่าได้จำนวน 411 ตัวอย่าง นำมาจำแนกชนิดไลเคนได้ 76 ชนิด 30 สกุล 16 วงศ์ วงศ์ที่มีความหลากหลายชนิดมากที่สุด 5 วงศ์ได้แก่ Physciaceae, Graphidaceae, Parmeliaceae, Trypetheliaceae และ Usneaceae คิดเป็นร้อยละ 27.63, 23.68, 14.47, 7.89 และ 6.58 ตามลำดับ


การสำรวจสังคมพืช พบว่าป่าดิบเขามีพันธุ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ (IVI) สูงสุดคือ ก่อพวง ก่อตลับ ก่อเดือย (ร้อยละ 33.08, 28.76 และ 17.63 ตามลำดับ) ป่าดิบแล้งมีพันธุ์ไม้ที่มีค่า IVI สูงสุดคือ ตะแบก ปอลาย และเปล้าใหญ่ (ร้อยละ 26.27, 23.29 และ 21.42 ตามลำดับ) ป่าเบญจพรรณมีพันธุ์ไม้ที่มีค่า IVI สูงสุดคือ ตะคร้อ สัก และแดง (ร้อยละ 51.10, 42.95 และ 22.31 ตามลำดับ) ป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ที่มีค่า IVI สูงสุดคือเต็งและรัง (ร้อยละ 98.99 และ 60.01 ตามลำดับ)


จากผลการวิจัยพบว่า ป่าดิบเขามีความหลากหลายของพรรณไม้ 37 ชนิด 30 สกุล 21 วงศ์ มีความหลากหลายของชนิดไลเคน 35 ชนิด 18 สกุล 9 วงศ์ ป่าดิบแล้งมีความหลากหลายของพรรณไม้ 42 ชนิด 40 สกุล 26 วงศ์ มีความหลากหลายของชนิดไลเคน 29 ชนิด 15 สกุล 12 วงศ์ ป่าเบญจพรรณมีความหลากหลายของพรรณไม้ 40 ชนิด 34 สกุล 21 วงศ์มีความหลากหลายของชนิดไลเคน 38 ชนิด 13 สกุล 6 วงศ์ และป่าเต็งรังมีความหลากหลายของพรรณไม้ 16 ชนิด 18 สกุล 11 วงศ์ มีความหลากหลายของชนิดไลเคน 34 ชนิด 12 สกุล 7 วงศ์ สรุปได้ว่าสังคมพืชป่าดิบแล้งมีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้มากที่สุดและป่าเบญจพรรณมีความหลากหลายของชนิดไลเคนมากที่สุด


 


คำสำคัญ:  ไลเคน สังคมพืช ค่าดัชนีความสําคัญของพรรณไม้ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ