การคัดเลือกไม้โตเร็วทนเค็มด้วยวิธีการปลูกในสารละลายอาหาร

Main Article Content

ณัฎฐ์สิริ ลักษณะอารีย์
มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์
ยุทธนา บรรจง
เอกพงษ์ ธนะวัติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการคัดเลือกไม้โตเร็วที่สามารถทนเค็มได้จากการปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ แบบ Deep water culture (DWC) ที่ปรับระดับความเค็มให้มีค่าอยู่ในระดับความเค็มปานกลาง (Electrical conductivity, EC = 8 ds/m) โดยการเติม NaCl จำนวน 3.5 กรัมต่อสารละลายอาหารจำนวน 1 ลิตร การศึกษาได้วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCBD) ศึกษาไม้โตเร็ว 5 ชนิด จาก 9 แหล่งเมล็ด ได้แก่ Acacia  ampliceps (15762), Acacia  ampliceps (18425), Acacia  plectocarpa (19983), Acacia  plectocarpa (19931), Acacia  leptocarpa (16176), Acacia  leptocarpa (19006), Acacia  colei (19984), Acacia  colei (19958) และ Eucalyptus  camaldulensis เก็บข้อมูลการเติบโตทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางคอราก ความสูง และนับจำนวนใบทุกๆ 2 สัปดาห์หลังจากเติม NaCl เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และหามวลชีวภาพของไม้แต่ละชนิดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง


จากการศึกษาพบว่า Eucalyptus  camaldulensis เติบโตได้ดีที่สุด ทั้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอราก และความสูง เท่ากับ 1.05 และ 178.60 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ Acacia  ampliceps (18425) และ Acacia  colei (19984) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตและจำนวนใบของกล้าไม้ที่ปลูกในสารละลายที่มีความเค็มปานกลางกับตัวควบคุมพบว่า การเติบโตของกล้าไม้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าความเค็มในระดับปานกลางไม่มีผลต่อการเติบโตของไม้ที่ศึกษา ยกเว้นจำนวนใบของ Acacia leptocarpa (19006) และ Acacia colei (19958) ที่ความเค็มของสารละลายมีผลทำให้จำนวนใบน้อยกว่าสิ่งควบคุม Eucalyptus camaldulensis มีมวลชีวภาพเหนือดินสูงสุด 57.57 กรัม/ต้น และ Acacia  plectocarpa  (19983) มีมวลชีวภาพเหนือดินต่ำที่สุดเท่ากับ 9.47 กรัม/ต้น ขณะที่ Acacia colei (19984) มีมวลชีวภาพใต้ดินสูงที่สุดเท่ากับ 11.68 กรัมต่อต้น


 


คำสำคัญ: ทนเค็ม สารละลายธาตุอาหาร ไม้โตเร็ว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ