การผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ไม้สักในตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต การตลาด และโครงสร้างตลาดของผลิตภัณฑ์ไม้สักในตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการจำนวน 253 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าทางสถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีอาชีพหลักทำผลิตภัณฑ์ไม้สัก ร้อยละ 63.24 ระยะเวลาเฉลี่ยในการดำเนินกิจการ 11 ปี เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ร้อยละ 75.10 ปริมาณไม้สักที่ใช้เป็นวัตถุดิบทั้งหมด 41,570 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้สักที่ใช้เป็นวัตถุดิบ คือ ไม้สักแปรรูป เศษไม้ และปีกไม้ ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดแคลนแรงงาน และวัตถุดิบราคาแพง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ทั้งหมดมี จำนวน 45 ชนิด จำนวน 1,391,376 ชิ้นต่อปี โดยใช้ไม้แปรรูปเป็นวัตถุดิบ มีจำนวน 29 ชนิด และใช้เศษไม้ ปีกไม้เป็นวัตถุดิบ มีจำนวน 16 ชนิด โครงสร้างตลาดเป็นแบบ ผู้ขายน้อยราย ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันตรงที่ลวดลาย การแกะสลัก และการเพิ่มสีสันของผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเข้ามาทำธุรกิจได้ง่าย เนื่องจากใช้ต้นทุนน้อย ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด มีการขายตัดราคาระหว่างผู้ขาย และขาดความรู้ทางด้านการส่งเสริมการขาย
คำสำคัญ: การผลิต การตลาด ผลิตภัณฑ์ไม้สัก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”