การประยุกต์ การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มปรับ ในการประเมินของป่า ณ ป่าสาธิต และต้นแบบ ของคณะป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณผลผลิตของป่า 3 ชนิด ได้แก่หวาย ต๋าว และแฮ่ม โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มปรับ และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กำหนดการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 1.25 ของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (394 เฮกแตร์) แปลงตัวอย่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 20 x 25 เมตร วิธีการสุ่มแบบง่ายไม่ใส่คืน แปลงตัวอย่างเริ่มต้น 100 แปลง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าความคลาดเคลื่อน ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน
ผลการศึกษาพบว่า การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มปรับ พบ 57 กลุ่มปรับ 179 แปลง พบหวาย 224 กอ 1,085 ลำ คิดเป็นร้อยละ 38.14 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 176.69 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 1.46 พบต๋าว 152 กอ 667 ลำ คิดเป็นร้อยละ 23.44 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 164.69 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 5.32 พบแฮ่ม 198 กอ 1,093 ลำ คิดเป็นร้อยละ 38.42 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 214.31 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 5.57 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แปลงตัวอย่าง 100 แปลง พบหวาย 115 กอ 539 ลำ คิดเป็นร้อยละ 40.31 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 171.13 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 42.77 พบต๋าว 71 กอ 331 ลำ คิดเป็นร้อยละ 24.76 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 165.50 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 47.18 พบแฮ่มจำนวน 89 กอ 467 ลำ คิดเป็นร้อยละ 34.93 ของจำนวนลำของป่า 3 ชนิดที่พบ ค่าเฉลี่ย 203.06 ลำต่อเฮกแตร์ ค่าความแปรปรวน 41.73
เปรีบยเทียบประสิทธิภาพสัมพันธ์ของการสุ่มตัวอย่างแบบ ACS และ SRS ในการประเมินปริมาณของป่า 3 ชนิด พบว่า RE มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าตัวประมาณค่าที่ดัดแปลงมาจากตัวประมาณของ Horvitz-Thompson ที่มีการสุ่มตัวอย่างขั้นต้นแบบง่ายภายใต้การสุ่มแบบกลุ่มปรับ มีประสิทธิภาพในแง่ของความแม่นยำมากกว่าตัวประมาณค่าเฉลี่ยของการสุ่มตัวอย่างแบบ SRS
คำสำคัญ: การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มปรับ ของป่า ป่าสาธิตและต้นแบบ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”