ความพร้อมของประชาชนในการรับมืออุทกภัยในตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ณัฐธนพัฒน์ นนทะแก้ว
สันติ สุขสอาด

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับความพร้อม และปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของประชาชนในการรับมืออุทกภัยในตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทำการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างจำนวน 249 คน และข้อมูลทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และF-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


                จากการศึกษาพบว่า ประชากรตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 54.60 มีอายุเฉลี่ยที่ 45.96 ปี มีการ ศึกษาในระดับประถมศึกษาไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 62.65 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.88 คน มีอาชีพหลักทำการเกษตร ร้อยละ 86.75 ไม่มีอาชีพรอง ร้อยละ 85.14 มีรายได้เฉลี่ย 173,420 บาท/ปี มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่เกิด ร้อยละ 72.70 ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 39.84 ปี และไม่เคย มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ ร้อยละ 85.10 เคยมีประสบการณ์ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในอดีต ร้อยละ 93.17 และเคยได้รับข่าวสารเตือนภัยอุทกภัย ร้อยละ 98.00 ส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับมืออุทกภัยอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 65.46 และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานป้องกันภัยพิบัติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 58.23 มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดอุทกภัย และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 54.60 และ 51.80 ตามลำดับ


                ด้านระดับความพร้อมในการรับมืออุทกภัยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อ ความพร้อมของประชาชนในการรับมืออุทกภัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครัวเรือน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับมืออุทกภัย การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานป้องกันภัยพิบัติ ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดอุทกภัย และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ


 


คำสำคัญ: ความพร้อม อุทกภัย  จังหวัดนครศรีธรรมราช

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัยสั้น