ความพึงพอใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมและเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลในจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้แบบสอบถามเก็บตัวอย่างทั้งหมด 280 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมติฐานด้วย t-test และค่า F-test ซึ่งกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การศึกษา พบว่า ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 68.6 ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 31.8 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งงาน 3-6 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.7 นอกเหนือจากน้ำบาดาลแล้วในชุมชนยังใช้น้ำจากบ่อน้ำธรรมชาติหรือหนองน้ำ คิดเป็นร้อยละ 33.5
ผลการทดสอบสมติฐานความพึงพอใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลพบว่า เพศ ระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำบาดาล จำนวนบุคลากรรายได้รวมของท้องถิ่น โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะควรมีการอบรมเสริมสร้างศักยภาพ บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการน้ำบาดาลที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมแต่ละท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐควรจะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคในการให้คำปรึกษา แนะนำต่อท้องถิ่น เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ การถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”