การวิเคราะห์ความผันแปรทางพันธุกรรมของต้นรักแกนมอในประเทศไทย โดยใช้เครื่องหมาย SCoT

Main Article Content

กรองทอง ใจแก้วแดง
วิชาญ เอียดทอง
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล

บทคัดย่อ

การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของต้นรักแกนมอจำนวน 96 ตัวอย่าง  โดยใช้เครื่องหมาย SCoT (Start Codon Targeted)  พบไพรเมอร์ที่มีความเหมาะสมจำนวน 5 ไพรเมอร์  คือ SCoT46  SCoT47  SCoT48  SCoT52 และ SCoT55  สามารถให้แถบดีเอ็นเอทั้งหมด 36 แถบ  มีขนาดอยู่ในช่วง 800-3,000 คู่เบส  โดย 34 แถบเป็นแถบดีเอ็นเอที่ให้โพลีมอร์ฟิซึม  คิดเป็น 94.44 เปอร์เซ็นต์ของแถบดีเอ็นเอทั้งหมด  ค่าเฮเตอโรไซโกซิตีมีค่าอยู่ในช่วง 0.21-0.39  เฉลี่ยเท่ากับ 0.28  ค่า polymorphic information content  มีค่าอยู่ในช่วง 0.299-0.375  เฉลี่ยเท่ากับ 0.36  และค่า coefficient of genetic differentiation  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.275  ผลการจัดกลุ่มด้วยวิธี unweighted pair group method with arithmetic average  พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมที่คำนวณด้วยวิธีของ Jaccard  อยู่ในช่วง 0.130-0.923  สามารถแบ่งตัวอย่างต้นรักแกนมอที่ทำการศึกษาออกเป็น 10 กลุ่ม  การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างต้นรักแกนมอมีความผันแปรทางพันธุกรรมสูง  สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมในประเทศไทยต่อไป


 


คำสำคัญ: ความผันแปรทางพันธุกรรม  ต้นรักแกนมอ  เครื่องหมาย SCoT


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ