ลักษณะทางกายวิภาคของใบยูคาลิปตัสสายต้นที่ต้านทานแตนสร้างปม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกสร้างสวนป่ายูคาลิปตัสประสบกับปัญหาที่เกิดจากแมลงที่ทำให้เกิดปม ชื่อแตนสร้างปมหรือแตนฝอยปม (Leptocybe invasa) ซึ่งระบาดอย่างหนักในประเทศไทยสร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากปัญหานี้จึงได้ทำการศึกษายูคาลิปตัสสายต้นที่ทนและไม่ทนต่อแตนสร้างปม โดยเลือกศึกษาท่อนพันธุ์ จากการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของยูคาลิปตัสสายต้นที่มีการปลูกในเชิงพาณิชจำนวน 6 สายต้น คือ H4, K7 , K25, K51, T5 และ CT76 ซึ่งได้มาจากบริษัทสยามฟอเรสทรีจำกัด และจากหน่อจากการกานที่โคนต้นแม่ไม้ภายในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สายต้น H4 และ T5 มีความต้านทานแตนสร้างปม สายต้นที่เหลืออ่อนแอ โดยเก็บใบอ่อนอายุไม่เกิน 2 สัปดาห์นำไปแช่ในกลูตาราลดีไฮด์ 3% ในน้ำ และนำมาตัดตามขวางด้วยมือ ใช้ใบมีดโกนตัดชิ้นส่วนที่ก้านใบและเส้นกลางใบบริเวณกึ่งกลางใบ ย้อมสีชิ้นบางด้วย safranin O นำไปศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ แผ่นใบ ก้านใบ และเส้นกลางใบ
ลักษณะทางกายวิภาคของแผ่นใบยูคาลิปตัสทั้ง 6 สายต้นคล้ายกันคือมีชั้นเนื้อเยื่อผิว ชั้นเดียวอยู่ด้านนอก ใต้พาลิเซด เรียง 2 ชั้นหนาใกล้เคียงกันอยู่ใต้ชั้นผิวทั้งด้านบนและด้านล่าง ระหว่างพาลิเซดเป็นชั้นพาเรงคิมาเรียงอัดแน่นไม่มีช่องว่าง เส้นใบย่อยขนาดเล็กมีพาเรงคิมาหุ้ม 1 ชั้น มีพาเรงคิมาเชื่อมต่อออกมาติดผิวใบด้านล่าง แตนสร้างปมไม่ทำลายแผ่นใบและเส้นใบย่อย ส่วนก้านใบและเส้นกลางใบทำการศึกษาลักษณะเดียวกันคือแบ่งเป็นเนื้อเยื่อด้านบนและเนื้อเยื่อด้านล่าง ทั้งก้านใบและเส้นกลางใบมีเนื้อเยื่อผิวในแต่ละสายต้นลักษณะรูปร่างคล้ายกันแต่ความสูงมีความแตกต่างกันทางสถิติมีความสูงระหว่าง 12.625– 14.563ไมครอน ความหนาของชั้นผิวไม่สัมพันธ์กับความทนและไม่ทนแตนสร้างปม เนื้อเยื่อพื้นด้านบนของก้านใบและเส้นกลางใบมีลักษณะทางกายวิภาคทั่วไปคล้ายกันทุกสายต้น เนื้อเยื่อพื้นด้านบนประกอบด้วยคอลเลงคิมา และพาเรงคิมา คอลเลงคิมาเป็นแบบหนาที่มุม (angular collenchyma) 3-7 ชั้น ปรากฏใต้ชั้นผิวจำนวนชั้นแปรผันในแต่ละสายต้นและแต่ละตัวอย่างเนื้อเยื่อพื้นด้านล่างของทั้งก้านใบและเส้นกลางใบมีส่วนประกอบคล้ายกัน ในสายต้นที่อ่อนแอต่อแตนสร้างปมประกอบด้วยพาเรงคิมาล้วนๆ ต่างจากสายต้นที่ทนคือ H4 และ T5 ประกอบด้วยคอลเลงคิมาและพาเรงคิมาโดยมีคอลเลงคิมา 7-12 ชั้น มัดท่อลำเลียงขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางพื้นที่หน้าตัดและอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อพื้นด้านบนและด้านล่าง ท่อลำเลียงมีขนาดใหญ่มีเนื้อเยื่อท่ออาหารอยู่ด้านบนและด้านล่างของท่อน้ำเป็นมัดท่อลำเลียงแบบbicollateral bundle
ความกว้างของเนื้อเยื่อพื้นทั้งด้านบนและด้านล่างขนาดของก้านใบและเส้นกลางใบมีความผันแปรไปตามสายต้น และไม่สัมพันธ์กับความทนและอ่อนแอต่อแตนสร้างปม ความหนาของผนังเซลล์ที่ติดกัน (double wall thickness) หนามากในสายต้น H4 และ T5 ซึ่งเป็นสายต้นที่ทน เท่ากับ 7.60 ไมครอน และ 6.27 ไมครอน ตามลำดับ ในสายต้นที่ไม่ทนผนังเซลล์บางกว่ามากความหนาอยู่ระหว่าง 2.263-3.493 ไมครอน เป็นที่ชัดเจนว่าการมีคอลเลงคิมาเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อและผนังเซลล์ที่ติดกันของเซลล์หนามากเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงความทนแตนสร้างปม
คำสำคัญ: ยูคาลิปตัส แตนฝอยปม แตนสร้างปม กายวิภาคของใบยูคาลิปตัส
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”