การเติบโตและผลผลิตไม้สักจากวิธีการเจริญทดแทนที่แตกต่างกัน ในสวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่

Main Article Content

สุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ

บทคัดย่อ

การศึกษาความเติบโตและผลผลิตไม้สักจากวิธีการเจริญทดแทนที่แตกต่างกัน ได้ดำเนินการที่สวนป่าขุนแม่คำมี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตและเปรียบเทียบผลผลิตของไม้สักที่เกิดจากการเจริญทดแทนที่แตกต่างกันคือการเจริญทดแทนโดยการปลูกด้วยเหง้าและการเจริญทดแทนโดยการแตกหน่อ ในแปลงปลูกสร้างสวนป่ารอบตัดฟันที่ 2 อายุ 1-12 ปี ระยะปลูก 4x4 เมตร ทำการวางแปลงทดลองขนาด 1 ไร่ในชั้นอายุละ 5 แปลง ในแต่ละแปลงเก็บข้อมูลการเติบโตและการรอดตายของไม้สัก วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ paired sample t-test และวิเคราะห์รูปแบบการเติบโตโดยใช้ logistic growth curve


                ผลการศึกษาพบว่า ไม้สัก ที่เกิดจากการเจริญทดแทนโดยการแตกหน่อ มีการเติบโตเฉลี่ยทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน เส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และปริมาตรไม้รายต้น มากกว่าที่เกิดจากการเจริญทดแทนโดยการปลูกด้วยเหง้า อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการทดสอบทางสถิติแล้ว พบว่าที่ชั้นอายุ 1, 3, 5, 6, 9, 10 และ 12 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนที่ชั้นอายุ 2, 4, 7, 8 และ 11 ปี ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ สำหรับการเติบโตทางความสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียง 4 ชั้นอายุคือ 1, 3, 9 และ 12 ปี และเมื่อวิเคราะห์จาก logistic growth curve พบว่าไม้สักจากการแตกหน่อเริ่มหยุดการเติบโตเมื่ออายุไม้ประมาณ 12 ปี ส่วนไม้สักจากการปลูกด้วยเหง้าเริ่มหยุดการเติบโตเมื่ออายุประมาณ 10 ปี ดังนั้นสามารถนำวิธีการเจริญทดแทนโดยวิธีการแตกหน่อมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสวนป่า และควรดำเนินการตัดขยายระยะ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของไม้ที่เหลือ


 


คำสำคัญ: การเติบโต ผลผลิต วิธีการสืบต่อพันธุ์ สวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ