การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มป่าทางบกในประเทศไทยโดยใช้ดัชนีภูมิภาพ

Main Article Content

นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวางแผนการอนุรักษ์และการจัดการพื้นที่คุ้มครองในระดับภูมิภาคของประเทศไทยจำเป็นต้องมีความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างทางด้านภูมิภาพของพื้นที่ รวมถึงการได้รับการสนับสนุนข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างเพียงพอเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจให้แก่นักจัดการ การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการประเมินองค์ประกอบและรูปลักษณ์เชิงปริมาณของกลุ่มป่าทางบกจำนวน 17 แห่งของประเทศไทยโดยใช้ดัชนีภูมิภาพจำนวน 9 ตัวชี้วัด และนำผลที่ได้มาใช้ลำดับความสำคัญของกลุ่มป่าทางบก การประเมินโครงสร้างทางภูมิภาพได้กระทำบนพื้นฐานของสภาพสังคมพืชคลุมดินที่ได้มาจากแผนที่สภาพการใช้ที่ดินและป่าไม้ปี พ.ศ. 2543 การลำดับความสำคัญของกลุ่มป่าดำเนินการโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของดัชนีภูมิภาพทั้ง 9 ตัว จากการศึกษาพบว่ากลุ่มป่าที่มีความสำคัญในแง่การเป็นกลุ่มป่าที่สามารถรักษาความหลากหลายของประเภทสังคมพืชหรือระบบนิเวศป่าไม้จำแนกได้เป็น 4 ระดับ คือ กลุ่มป่าที่สำคัญยิ่ง ได้แก่กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ กลุ่มป่าแม่ปิง-อมก๋อยกลุ่มป่าลำน้ำปาย-สาละวินกลุ่มป่าภูเมี่ยง-ภูทองกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาวกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่กลุ่มป่าดอยภูคา-แม่ยมกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาลและกลุ่มป่าแก่งกระจานกลุ่มป่าที่มีความสำคัญปานกลาง ได้แก่กลุ่มป่าตะวันออกกลุ่มป่าคลองแสง-เขาสกกลุ่มป่าภูพานและ กลุ่มป่าพนมดงรัก-ผาแต้มและกลุ่มป่าที่มีความสำคัญน้อย ได้แก่ กลุ่มป่าเขาหลวงกลุ่มป่าชุมพรกลุ่มป่าฮาลา-บาลาและกลุ่มป่าเขาบรรทัดจากผลการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มป่าตามโครงสร้างเชิงภูมิภาพของสภาพสังคมพืชคลุมดินทำให้เข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถช่วยในการจัดสรรงบประมาณและอัตรากำลังให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต


 


คำสำคัญ: พื้นที่คุ้มครอง กลุ่มป่า การลำดับความสำคัญ ดัชนีภูมิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ