ความคิดเห็นของราษฎรต่อกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

เพ็ญศรี พิพัฒน์
สันติ สุขสอาด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับความคิดเห็นและปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรต่อทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามกับราษฎรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 337 ราย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test และ F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 63.80 มีอายุเฉลี่ย 41.99 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 49.55 มีอาชีพหลักเกษตรกรรมและไม่มีอาชีพรอง มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 16.96 ไร่ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.10 คน ส่วนใหญ่เกิดที่นี่ มีระยะเวลาการอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเฉลี่ย 25.94  ปี มีรายได้เฉลี่ย 241,397.63 บาท เคยได้รับความเสียหายของพืชเกษตรจากช้างป่า ร้อยละ 42.73 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมแก้ไขปัญหาช้างป่า มีระยะทางจากที่ทำกินถึงป่า เฉลี่ย 1.81 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนช่วยเหลืออาหาร     ช้างป่าแห่งประเทศไทยในระดับสูง มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในระดับสูง มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันพืชเกษตรจากช้างป่าและการขับไล่ช้างป่าในระดับต่ำ และมีความคิดเห็นต่อกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทยในระดับสูง


ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรต่อกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย ได้แก่ อาชีพหลัก รายได้ของครัวเรือน การได้รับความเสียหายของพืชเกษตรที่ปลูกจากช้างป่า ระยะทางจากที่ทำกินถึงป่า ความรู้เกี่ยวกับกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันพืชเกษตรจากช้างป่าและการขับไล่ช้างป่า


 


คำสำคัญ: ความคิดเห็น กองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย ช้างป่า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ