ความคิดเห็นของราษฎรผู้ปลูกที่มีต่อธุรกิจการปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ระดับความคิดเห็นและปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่ปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลราษฎรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 354 ราย สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ใช้ค่า t-test และค่า F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.02 ปี จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 59.32 นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพหลัก ทำสวนยางพารา ร้อยละ 44.63 และมีอาชีพรอง ร้อยละ 89.83 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 242,031.64 บาทต่อปี และรายได้จากสวนยางพาราเฉลี่ย 97,972.32 บาทต่อปี รายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 100,996.33 บาท และรายจ่ายจากการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 27,026.55 บาทต่อปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 15.62 ไร่ มีความคิดริเริ่มในการปลูกยางพาราจากหน่วยงานส่งเสริมการปลูกยางพาราใช้เงินทุนส่วนตัวในการทำสวนยางพารา มีประสบการณ์ในการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 9.35 ปี ส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรม ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกยางพารา และไม่เคยไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับยางพารา ความคิดเห็นของราษฎรต่อการปลูกยางพาราอยู่ในระดับสูง
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่ปลูกยางพารา ได้แก่ ขนาดพื้นที่ถือครอง ความคิดริเริ่มในการปลูกยางพารา การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับยางพารา และความรู้เกี่ยวกับยางพารา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดการฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการการปลูกยางพารา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป การตลาด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คำสำคัญ: ความคิดเห็น ยางพารา จังหวัดพะเยา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”