ความหลากหลายและนิเวศวิทยาบางประการของเห็บแข็งในป่าดิบแล้ง บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นภาลัย กกขุนทด
เดชา วิวัฒน์วิทยา
ประทีป ด้วงแค
สถาพร จิตตปาลพงศ์

บทคัดย่อ

                        การศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาบางประการของเห็บแข็งในป่าดิบแล้งบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 เพื่อศึกษาความหลากหลาย ความหนาแน่น การกระจาย และความสัมพันธ์ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการปรากฏเห็บแข็งในป่าดิบแล้ง โดยสุ่มวางแปลงขนาดแปลง 5 × 5 เมตร จำนวน 30 แปลง สำรวจเห็บแข็งด้วยวิธีลากผ้ากำมะหยี่สีขาวขนาด 1×1 เมตร ลากให้ครอบคลุมแปลงโดยใช้เวลา 5 นาที แล้วเก็บตัวอย่างเห็บแข็งบนผ้ากำมะหยี่ทำการสำรวจเดือนละ 2 ครั้ง


                ผลการศึกษาพบเห็บแข็ง 1,601 ตัว จาก 5 สกุลคือ  Haemaphysalis, DermacentorRhipicephalus , Ixodes และ Amblyomma  ระยะตัวอ่อนพบ 4 สกุล จำนวน 1,551 ตัว และระยะกลางวัย 5 สกุล จำนวน 49 ตัวและพบตัวเต็มวัย 1 สกุล Rhipicephalus  พบหนาแน่นมากที่สุด 0.2424 ตัวต่อตารางเมตร รองลงมาคือ สกุล Dermacentor (0.1077) และ Haemaphysalis (0.0443) เห็บแข็งมีความหนาแน่นใกล้เคียงระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน อุณหภูมิอากาศมีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อการปรากฏเห็บแข็งสกุล Dermacentor และอุณหภูมิดินมีอิทธิพลต่อการปรากฏเห็บแข็งสกุล Ixodes และสกุล Rhipicephalus  


                การศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลนำไปสนับสนุนการจัดทำข้อมูลทางด้านสัตวแพทย์และการแพทย์ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการลดความเสี่ยงจากปัญหาและเป็นต้นแบบการจัดการพื้นที่ที่มีเห็บแข็งระบาดในพื้นที่ต่อไป


 


คำสำคัญ: ความหลากหลาย นิเวศวิทยา เห็บแข็ง ป่าดิบแล้ว สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ