ความหลากหลายของหนอนผีเสื้อ (Order Lepidoptera) ในพื้นที่โครงการ พัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ภราดร ดอกจันทร์
นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว
สราวุธ คลอวุฒิมันตร์

บทคัดย่อ

                        ผีเสื้อในประเทศไทยมีความหลากหลายสูงแต่มีการศึกษาในระยะตัวหนอนน้อยมาก งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาชนิดของหนอนผีเสื้อและพืชอาหาร ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี เก็บข้อมูลทุกๆ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2555  โดยการวางแปลงขนาด 10×10 เมตร จำนวน 220 แปลง ในพื้นที่ 160 ไร่ (256,000 ตารางเมตร) แต่ละแปลงห่างกัน 40 เมตร ทำการเก็บตัวอย่างหนอนผีเสื้อที่พบตั้งแต่ผิวดินจนถึงระดับความสูง 2 เมตร รวมทั้งพืชอาหาร ทำการเลี้ยงหนอนผีเสื้อในกล่องพลาสติกจนเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย จำแนกชนิดผีเสื้อและพืชอาหาร จากผลการศึกษาตัวอย่างหนอนผีเสื้อทั้งหมด 1,884 ตัว สามารถจำแนกหนอนผีเสื้อได้ทั้งสิ้น 98 ชนิด 78 สกุล ใน 23 วงศ์ วงศ์ที่มีความหลากชนิดสูงสุดคือ วงศ์ Noctuidae พบ 9 สกุล 12 ชนิด วงศ์ที่มีความหลากหลายน้อยที่สุดคือ วงศ์ Amathusiidae, Drepanidae, Notodontidae, Hyblaeidae และ Saturniidae ในแต่ละวงศ์พบเพียง 1 สกุล 1 ชนิด และ พบพืชอาหารของหนอนผีเสื้อที่จำแนกได้ทั้งสิ้น 72 ชนิด รวมทั้งพืชอาหารที่ไม่สามารถจำแนกได้จำนวน 9 รูปแบบสัณฐาน และฤดูฝนมีค่าความหลากหลายของแชนนอนเท่ากับ 3.93 สูงกว่าฤดูแล้งที่มีค่าความหลากหลายของแชนนอนเท่ากับ 2.16 แต่ในขณะที่ฤดูแล้งมีความชุกชุมสูงกว่าฤดูฝน


 


คำสำคัญ: ความหลากหลาย หนอนผีเสื้อ ป่าชุมชน    

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ