อนุกรมวิธานและพฤกษเคมีของพืชประเภทบุกบอนบนดิน ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชประเภทบุกบอนบนดิน ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2555 พบ 8 สกุล 13 ชนิด ดังนี้ ว่านขันหมาก {Aglaonema simplex (Blume) Blume} บอนขาว (Alocasia acuminata Schott) กระดาด (Alocasia hypnosa J. T. Yin, Y. H. Wang & Z. F. Yu) บุก (Amorphophallus cruddasianus Prain ex Engl.) บุกกาบพริ้ว (Amorphophallus maxwellii Hett.) บุกคนโท (Amorphophallus muelleri Blume) บุกคางคก {Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson} Arisaema maxwellii Hett. & Gusman บอนน้ำ {Colocasia esculenta (L.) Schott} คูน {Colocasia gigantea (Blume) Hook. f.} ผักหนาม {Lasia spinosa (L.) Thwaites} ตะพิตกาบแข็ง (Sauromatum horsfieldii Miq.) และอุตพิต {Typhonium trilobatum (L.) Schott} ในการศึกษาสารประกอบทุติยภูมิได้นำส่วนลำต้นใต้ดินสะสมอาหารในช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่มาสกัดสดเพื่อศึกษาทางพฤกษเคมีได้จำนวน 11 ชนิด ยกเว้น Amorphophallus cruddasianus Prain ex Engl. และ Sauromatum horsfieldii Miq. โดยนำสารสกัดหยาบส่วนที่เป็น lipophilic extract มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบด้วยเทคนิค Thin Layer Chromatography (TLC) และใช้วิธีการตรวจสอบปฏิกิริยาการเกิดสีด้วยน้ำยาพ่นแบบเฉพาะเจาะจง พบสารสำคัญในกลุ่ม terpenoids, phenolic compounds, courmarin และ alkaloids โดยสารสำคัญในกลุ่ม terpenoids ที่ค่า Rf 0.30, 0.40, 0.91 และสารสำคัญในกลุ่ม phenolic compounds ที่ค่า Rf 0.20, 0.33, 0.95 มีรูปแบบทางเคมีของสารสำคัญเหมือนกัน ส่วนสารสำคัญในกลุ่ม courmarin และ alkaloids พบเฉพาะในพืช 7 ชนิด จากกรณีศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดส่วน lipophilic extract ของผักหนาม {Lasia spinosa (L.) Thwaites} พบว่าสารสกัดมีแนวโน้มในการชะลอการเติบโตของต้นกล้า และมีผลต่อความสมบูรณ์ของต้นกล้าหลังย้ายปลูก 1 สัปดาห์
คำสำคัญ: การศึกษาอนุกรมวิธาน พฤกษเคมี พืชประเภทบุกบอนบนดิน อุทยานแห่งชาติไทรโยค
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”