ความหลากหลายของไลเคนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการวิจัยสำรวจไลเคนบริเวณ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อนขุนด่านปราการชล พบไลเคนในกลุ่มกลุ่มครัสโตสไลเคน (crustose) เป็นจำนวนมาก ขณะที่พบกลุ่มโฟลิโอสไลเคน (foliose) เพียงชนิดเดียวคือ Leptogium sp. และไม่พบไลเคนในกลุ่มฟรูทิโคส (fruticose) นอกจากนั้นพบว่าบริเวณแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกช่องลม พบไลเคนหลากหลายสกุลมากที่สุดคือ คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาได้แก่ น้ำตกคลองคราม คิดเป็นร้อยละ 24 น้ำตกผางามงอน คิดเป็นร้อยละ 14 และบริเวณจุดลงเรือพบเพียงกลุ่มเดียวคือ ไลเคนในสกุล Graphis spp. คิดเป็นร้อยละ 4 ของจำนวนสกุลไลเคนที่พบทั้งหมด นอกจากนี้ไลเคนในสกุล Pertusaria spp. ถูกพบมากที่สุดในทุกจุดท่องเที่ยวของเขื่อนขุนด่านปราการชล อย่างไรการหาความสัมพันธ์ของชนิดพันธุ์ไม้กับชนิดไลเคนที่อิงอาศัย จะให้แนวทางส่งเสริมจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรป่าไม้ เพื่อการอนุรักษ์ไลเคนได้ นอกจากนี้ชนิดไลเคนที่พบในแหล่งท่องเที่ยว อาจสามารถบ่งบอกผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อสภาพแวดล้อมได้
คำสำคัญ: ไลเคน ความหลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ต้นไม้แหล่งอาศัย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”