สถานภาพปัจจุบันและแนวทางการจัดการของการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด ไม้ยางนาของกรมป่าไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาในพื้นที่แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดไม้ยางนาของกรมป่าไม้ในพื้นที่ 13 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดไม้ยางนา และเสนอแนวทางการจัดการแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด โดยการรวบรวมข้อมูลลักษณะทั่วไป และข้อมูลการเติบโต (ความสูงทั้งหมด และเส้นผ่านศูนย์กลาง) ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 ตลอดจนใช้ SWOT analysis ในการประเมินสถานภาพปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า มีแปลงอนุรักษ์จำนวนทั้งหมด 36 แปลง โดยมีขนาดเนื้อที่ที่หลากหลายตั้งแต่ 3-200 ไร่ มีอายุ 12-51 ปี ส่วนมากมีระยะปลูก 4x4 เมตร และ 4x2 เมตร โดยแปลงของสถานีวนวัฒนวิจัยสุราษฎร์ธานีมีอัตราความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงสูงสุดเท่ากับ 1.64 เมตรต่อปี ขณะที่แปลงของสถานีวนวัฒนวิจัยเชียงรายมีอัตราความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกมากสุด คือ 1.67 เซนติเมตรต่อปี ผลการวิเคราะห์ SWOT analysis พบว่า แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดไม้ยางนาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีศักยภาพในการคัดเลือกแหล่งพันธุกรรม และแม่ไม้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และมีผลผลิตรองที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ แม้ประเทศไทยจะมีนโยบาย และแผนระดับชาติ ที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน แต่ยังคงขาดแผน และกิจกรรมปฏิบัติงานที่ชัดเจนสำหรับการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดไม้ยางนา อีกทั้งกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับบางส่วนไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการปลูกไม้ยางนา ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันไปสนใจและปลูกไม้ชนิดอื่นๆ แทน จากการศึกษาในครั้งนี้จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในเชิงบูรณาการ 7 กลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดไม้ยางนาให้เหมาะสมกับสถานภาพปัจจุบัน
คำสำคัญ: ไม้ยางนา การอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด การจัดการ กรมป่าไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”