ผลของการตัดขยายระยะต่อการเติบโตและผลผลิตของไม้กระถินเทพาที่ขึ้นเอง ในพื้นที่เหมืองแร่ร้าง สถานีวิจัยวนศาสตร์พังงา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการตัดขยายระยะต่อการเติบโตและผลผลิตของไม้กระถินเทพาที่ขึ้นเองหลังการทำไม้ออก ในสถานีวิจัยวนศาสตร์พังงา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ วางแปลงขนาด 10x20 เมตร ในแปลงไม้กระถินเทพา อายุ 2 ปี ทำการตัดขยายระยะให้มีความหนาแน่น 4 ระดับ คือ 1,150, 2,250 และ 3,000 ต้นต่อเฮกแตร์ และแปลงควบคุมวัดการเติบโตทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงทุกๆ ปี จนถึงอายุ 6 ปี และประเมินผลผลิตมวลชีวภาพของไม้กระถินเทพาด้วยสมการแอลโลเมตรี
ผลการศึกษาพบว่า ไม้กระถินเทพา อายุ 6 ปี ที่ผ่านการตัดขยายระยะที่มีความหนาแน่น 1,150 ต้นต่อเฮกแตร์ มีการเติบโตทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 11.89 เซนติเมตร และ 17.30 เมตร ตามลำดับ ส่วนผลผลิตมวลชีภาพพบว่า กระถินเทพาความหนาแน่น 2,250 ต้นต่อเฮกแตร์
มีผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ 3,000, 1,150 ต้นต่อเฮกแตร์ และ แปลงควบคุม มีค่าเท่ากับ 87.44, 82.69, 67.37 และ 59.50 ตันต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ส่วนความเพิ่มพูนรายปี พบว่ากระถินเทพา ความหนาแน่น 1,150 ต้นต่อเฮกแตร์ มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยมากที่สุด อย่างไรก็ตามควรมีการตัดสางขายระยะไม้กระถินเทพาอีกครั้งเมื่อกระถินเทพาอายุ 6 ปี เพื่อเร่งการเติบโตและผลผลิตของหมู่ไม้
คำสำคัญ: การตัดขยายระยะ การเติบโต ผลผลิต กระถินเทพา เหมืองแร่ร้าง สถานีวิจัยวนศาสตร์พังงา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”