พลวัตของพืชพรรณในช่วงเวลา 10 ปี ในป่าเต็งรัง เซคเตอร์แม่หวด ป่าสาธิตงาว จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ธเนศ ไชยสุนทรกิตติ
ขวัญชัย ดวงสถาพร
ปัสสี ประสมสินธ์
A. Yenemurwon Omule

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของพืชพรรณในป่าเต็งรังเซคเตอร์แม่หวด ป่าสาธิตงาว จังหวัดลำปาง โดยศึกษาจากแปลงตัวอย่างถาวรที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2544 จำนวน 14 แปลง โดยการสนับสนุนขององค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (ITTO) ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ประกอบด้วยข้อมูล ชนิดพันธุ์ของต้นไม้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก สถานะของต้นไม้ (มีชีวิต ตายหรือถูกตัดฟัน) จำนวนของไม้ต้น (Tree) ไม้รุ่น (Sapling) และกล้าไม้ (Seedling) แล้ววิเคราะห์หาค่าความหนาแน่นของต้นไม้ต่อเนื้อที่ ดัชนีความสำคัญ ดัชนีความหลากหลาย การเติบโตของหมู่ไม้ และการกระจายของชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง


                ผลการศึกษาพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2555 ความหนาแน่นของไม้ต้นเพิ่มขึ้นจาก 170±38.56 ต้นต่อไร่ เป็น 199±37.46 ต้นต่อไร่ ความหนาแน่นของไม้รุ่นลดลงจาก 9±2.62  ต้นต่อไร่ เป็น 8±1.66  ต้นต่อไร่ ความหนาแน่นของกล้าไม้ลดลงจาก 213±68.78 ต้นต่อไร่ เป็น 30±10.22  ต้นต่อไร่ ดัชนีความสำคัญของชนิดพันธุ์แตกต่างกันในบางชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายเฉลี่ยลดลงจาก 2.19±0.16 เป็น 2.06±0.20 แต่ไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านการเติบโตของหมู่ไม้พบว่า การเติบโตทั้งหมด (gross growth) เพิ่มขึ้น 4.40 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การเติบโตสุทธิ (net growth) ลดลง 0.16 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ กล่าวคือมีอัตราการการตายมากกว่าการเพิ่มพูน อัตราการตายเฉลี่ย 4.57±0.57 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มีไม้ที่ถูกตัดไปเฉลี่ย 0.27±0.16 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มีไม้เลื่อนชั้น (ingrowth) ขึ้นมาเฉลี่ย 1.26±0.21 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และมีปริมาตรเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.83±0.27 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การกระจายของชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใน 2 ช่วงเวลามีลักษณะคล้ายรูปตัว J กลับด้าน แสดงให้เห็นว่าป่าเต็งรัง เซคเตอร์แม่หวด ป่าสาธิตงาว จังหวัดลำปาง มีแนวโน้มใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์


 


คำสำคัญ: พลวัตของพืชพรรณ ป่าเต็งรัง ไม้เลื่อนชั้น ป่าสาธิตแม่งาว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ