ศักยภาพการผลิตพืชสมุนไพรของป่าชุมชนทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ปริมาณการผลิตและมูลค่า การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ตลอดทั้งครรลองการตลาดของผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรที่ดำเนินการโดยราษฎรในชุมชนหมู่บ้านทาป่าเปา วิธีการศึกษาใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรควบคู่กับการสำรวจป่าชุมชนด้วยแปลงตัวอย่างถาวรเป็นเครื่องมือหลัก หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ดัชนีความหลากหลาย ปริมาณการผลิตและการใช้ประโยชน์ตลอดทั้งครรลองการตลาดของผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร
ผลการศึกษา พบว่า จำนวนชนิดพันธุ์ของพืชสมุนไพรมีทั้งหมด 68 ชนิด จำแนกตามรูปแบบชีวิตเป็นไม้ยืนต้น ไม้เถาเลื้อย ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม เฟิร์น และพืชเบียน จำนวน 33 13 11 9 1 และ 1 ชนิด ตามลำดับ โดยค่าดัชนีความหลายหลายของชนิดพันธุ์ 1.45 ส่วนผลผลิตพืชสมุนไพรตากแห้งในชุมชนบ้านทาป่าเปา 252.81 กิโลกรัมต่อหมู่บ้านต่อปี และศักยภาพของป่าชุมชนบ้านทาป่าเปาในการผลิตพืชสมุนไพรจัดว่าอยู่ในระดับสูง กล่าวคือ มีปริมาณการผลิตหรืออุปทานสูงกว่าปริมาณความต้องการหรืออุปสงค์ 306,211.31 กิโลกรัม ทั้งนี้ครรลองการตลาดของผลผลิตพืชสมุนไพรของชุมชนบ้านทาป่าเปากระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและบางส่วนส่งออกไปยังต่างประเทศ ส่งผลให้หมอยาสมุนไพรมีรายได้เฉลี่ยสุทธิปีละ 28,000 บาทต่อคน และยังพบว่ามูลค่าทั้งหมดของพืชสมุนไพรในป่าชุมชนแห่งนี้มีค่า 68,155,191.20 บาท
คำสำคัญ: ศักยภาพ การผลิต พืชสมุนไพร ป่าชุมชนบ้านทาป่าเปา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”