การประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในอำเภอบางปะกง 2) คัดเลือกกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่น และ 3) ศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในระดับกิจกรรมที่ได้รับการคัดเลือกตามวิธีการแบบมีส่วนร่วม ทำการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคสนามร่วมกับจัดประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ เพื่อเสนอแนะและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นในพื้นที่ศึกษา ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟายในการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว โดยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 22 ท่าน เพื่อพัฒนาปัจจัยชี้วัดศักยภาพทรัพยากรท่องเที่ยวที่เหมาะสม 29-30 ปัจจัยต่อแหล่ง และใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และวิเคราะห์ระดับศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยใช้สมการถ่วงน้ำหนัก
ผลการศึกษา สามารถคัดเลือกกิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นได้ 3 กิจกรรม คือ การล่องเรือ ดูนก และศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน การประเมินศักยภาพทรัพยากรท่องเที่ยว 4 แห่ง พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงในการรองรับกิจกรรม ได้แก่ ล่องเรือชมโลมาปากแม่น้ำบางปะกง ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเกาะธรรมชาติท่าข้าม และดูนกเกาะธรรมชาติท่าข้าม ส่วนอีก 1 แห่ง คือ ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนในโรงเรียนบางปะกงบวรวิทยายน มีศักยภาพระดับปานกลาง ดังนั้น ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงก่อน โดยปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างเส้นทางท่องเที่ยวให้เกิดการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความน่าสนใจและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”