การประมาณค่าปริมาณฝนโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม FY-2E และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าปริมาณฝนจากดาวเทียม FY-2E โดยการใช้ข้อมูลช่วงคลื่นความร้อน 4 ช่วงความยาวคลื่น ประกอบด้วย IR1, IR2, WV และ IR4 บันทึกข้อมูลทุกชั่วโมงในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เพื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุณหภูมิส่องสว่างกับความเข้มฝนที่ตรวจวัดจากสถานีตรวจวัดฝนอัตโนมัติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งการวิเคราะห์ได้เลือกใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks; ANNs) เพื่อหาความสัมพันธ์ จากนั้นทำการปรับแก้ความถูกต้อง โดยใช้ค่าความผิดพลาดโดยประมาณ (percentage error) และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (Root Mean Square Error; RMSE)
ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนของอุณภูมิส่องสว่าง มีค่าผันแปรสูงสุดปรากฏในช่วงฤดูหนาว และมีค่าต่ำสุดในช่วงฤดูฝนทั้งนี้เนื่องจากช่วงฤดูฝนมีค่าความเปียกของพื้นที่ดินสูงทำให้ค่าอุณหภูมิพื้นผิวต่ำลงมากกว่าช่วงฤดูอื่นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าอุณหภูมิส่องสว่างรายเดือนกับค่าปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการเกิดฝนนั้นมีหลายปัจจัย และมีเงื่อนไขของสภาพบรรยากาศ สำหรับการประยุกต์ใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนรายเดือน พบว่าค่าปริมาณน้ำฝนที่คำนวณได้มีค่าสูงสุดในช่วงเดือนสิงหาคม และมีค่าต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคม ส่วนการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของแบบจำลองพบว่าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) อยู่ในระดับปานกลางและสูง โดยมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 58 ถึง 99 ทั้งนี้ค่าความสัมพันธ์สูงปรากฏในช่วงที่มีปริมาณฝนตกสูง ส่วนค่าความสัมพันธ์ต่ำปรากฏในช่วงที่มีค่าปริมาณน้ำฝนต่ำและเมื่อทดสอบความถูกต้องพบว่ามีค่าร้อยละความผิดพลาโดยประมาณอยู่ในช่วง 29.96-40.72 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองมีค่าอยู่ในช่วง 29.07-45.62 ซึ่งถือว่าอยู่ในรับที่ยอมรับได้ในทางอุตุนิยมวิทยา
คำสำคัญ: แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ภาพถ่ายดาวเทียม FY-2E ประเมินค่าปริมาณฝน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”