ความคิดเห็นของราษฎรต่อบทบาทการเป็นผู้นำของพระสงฆ์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บ้านท่าเตียน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ ระดับความคิดเห็นและปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรต่อบทบาทของพระสงฆ์ในอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่บ้านท่าเตียน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมโดยใช้แบบสอบถามไปสอบถามราษฎรที่อยู่อาศัยในพื้นที่บ้านท่าเตียน จำนวน 130 ครัวเรือน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 42 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำไร่ มีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 141,907 บาท ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 14.81 ไร่ ไปทำกิจกรรมที่วัดเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของวัด เข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของวัดเฉลี่ย 9 ครั้งต่อปี ความเชื่อถือในความเป็นผู้นำของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นของราษฎรในพื้นที่ที่ใช้สอยทรัพยากรป่าไม้อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ดังนั้นราษฎรมีความคิดเห็นที่เห็นด้วยอย่างมากต่อการเป็นผู้นำของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรต่อการเป็นผู้นำของพระสงฆ์ในอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่ศึกษานี้ได้แก่ อาชีพ รายได้ของครัวเรือน ขนาดพื้นที่ถือครอง การเคยเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของวัด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ความเชื่อถือในความเป็นผู้นำของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คำสำคัญ: ความคิดเห็น บทบาท พระสงฆ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”