แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อประมาณค่าการคายระเหยน้ำของป่าดิบเขาบริเวณลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่; 1. การจำลองแบบ การปรับเทียบ และการทวนสอบ

Main Article Content

ชัชชัย ตันตสิรินทร์
วิภารัตน์ ทองเด็จ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการประยุกต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งรวมแบบจำลอง Penman, Penman-Monteith และ Rutter ประมาณค่าการคายระเหยน้ำของป่าดิบเขา บริเวณลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ และนำค่าที่ได้เปรียบเทียบกับค่าที่วัดด้วยวิธี Eddy-Correlation โดยใช้สมการของ Nash and Sutclife (1970) เพื่อประสิทธิภาพ (model efficiency; NSE) จากการปรับเทียบและทวนสอบแบบจำลอง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


ประสิทธิภาพของการประมาณค่าน้ำพืชยึดราย 10 นาที และ 30 นาที ที่ได้จากขั้นตอนการปรับเทียบแบบจำลอง มีค่า NSE เฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือ 0.8858 และ 0.8890 ตามลำดับ ส่วนการประมาณค่าปริมาณคายน้ำของพืช พบว่าราย 10 นาที มีค่า NSE เฉลี่ยสูงกว่าราย 30 นาที คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.3965 และ 0.3181 ตามลำดับ ส่วนผลการทวนสอบแบบจำลองการประมาณค่าน้ำพืชยึดราย 10 นาทีและ 30 นาที พบว่าค่าประสิทธิภาพของแบบจำลองลดลง โดยการจำลองแบบราย 10 นาทีมีค่าประสิทธิภาพของการจำลองแบบต่ำกว่าราย 30 นาที โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.7662 และ 0.8349 ตามลำดับ ส่วนผลการทวนสอบการประมาณค่าการคายน้ำของราย 10 นาที และ 30 นาที พบว่า แบบจำลองราย 30 นาทีมีความใกล้เคียงมากกว่าราย 10 นาที โดยมีค่าประสิทธิภาพในการจำลองแบบเฉลี่ยเท่ากับ 0.3596 และ 0.3433 ตามลำดับ


 


คำสำคัญ:  การคายระเหยน้ำ แบบจำลองคณิตศาสตร์ ลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ป่าดิบเขา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ