การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการป่าชุมชน ในป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t -test และ F- test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.83 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.69 คน ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร และมีอาชีพรองรับจ้างทั่วไป ประชาชนมีการถือครองที่ดิน เฉลี่ย 17.34 ไร่ มีรายได้เป็นเงินสดรายปี เฉลี่ย 109, 407.10 บาท ส่วนใหญ่ มีการกู้ยืมเงินรายปีเฉลี่ย 104,713.30 บาท ตั้งบ้านเรือนห่างจากป่าชุมชน น้อยกว่า 2 กิโลเมตร มีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน 44 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับป่าชุมชนน้อยและไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับป่าชุมชนและมีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนน้อย
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีคะแนนเฉลี่ย 1.50 คะแนน เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมเป็นรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการจัดการ ด้านการเข้าไปใช้ประโยชน์ ด้านการเสียสละ และ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป่าชุมชน ปรากฏว่า ทุกด้านมีส่วนร่วมในระดับน้อยโดยมีคะแนนเฉลี่ย 1.45 1.59 1.55 1.56 และ 1.36 คะแนน ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนในป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นได้แก่ ตำแหน่งทางสังคม รายได้ของครัวเรือนต่อปี อาชีพรอง ระยะเวลาที่อาศัย การได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน และการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน
ศัพท์สำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการป่าชุมชน จังหวัดขอนแก่น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”