ผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบผจญภัยโดยใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ ต่อระบบนิเวศของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและลักษณะการใช้ประโยชน์เส้นทาง ลักษณะเส้นทางและลักษณะพื้นฐานของระบบนิเวศบริเวณเส้นทางที่มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ วิเคราะห์ผลกระทบและวิเคราะห์ความคงทนทางกายภาพของพื้นที่บริเวณเส้นทางที่มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก และคาดการณ์ระดับความรุนแรงของผลกระทบในอนาคต โดยทำการเก็บข้อมูลจากเส้นทางรถยนต์ที่มีการใช้ประโยชน์จริงจำนวน 3 เส้นทาง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า จำนวนกล้าไม้และไม้รุ่นข้างเส้นทางทั้งสามเส้นมีจำนวนน้อยกว่าในพื้นที่ธรรมชาติ โดยมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หรือกิจกรรมการใช้เส้นทางส่งผลกระทบต่อพืชพรรณ ในด้านผลกระทบต่อการสูญเสียดิน พบว่า เส้นทางตะเคียนทอง-สาละวะ มีปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้างมากที่สุด คือ มีค่าเท่ากับ 118.43 ตันต่อแฮกแตร์ ในด้านผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เส้นทางรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อผ่านถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ถึง 6 ชนิด ซึ่งส่งผลต่อการกระจายและการแตกแยกของประชากร ในด้านความคงทนทางกายภาพของพื้นที่ พบว่า เส้นทางทินวย-มหาราช สังคมป่าเต็งรัง มีค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนแตกกระจายมากที่สุด คือ ร้อยละ 52.43 เมื่อวิเคราะห์หาอิทธิพลของปัจจัยด้านสังคมป่า ความลาดชัน และปัจจัยร่วม พบว่า สังคมป่า มีอิทธิพลต่อค่าอัตราส่วนการแตกกระจายของดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุ พบว่า อัตราส่วนการแตกกระจายของดิน เปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน และเปอร์เซ็นต์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน มีอิทธิพลต่อการสูญเสียดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สามารถคาดการณ์ความรุนแรงของผลกระทบในการสูญเสียดินได้ในระดับต่ำ (R2= 0.235)
คำสำคัญ: ผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยว รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”