การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอน ตอนบน อำเภอหินเหิบ จังหวัดเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอน ตอนบน อำเภอหินเหิบ จังหวัดเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ F-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกำหนดให้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุในช่วง 40-49 ปี นับถือศาสนาพุทธ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเทิง มีระดับการศึกษาจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีที่ดินทำกินมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินประเภทใบรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักและเป็นอาชีพรอง มีรายได้และรายจ่ายไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นนาข้าว ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และทำไร่ข้าว กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับน้อย
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำตอน ตอนบน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพในชุมชน ระดับการศึกษา จำนวนพื้นที่ทำกิน อาชีพหลักและอาชีพรอง
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”