ความหลากหลายของพืชอาหาร และการเลือกกินของกระทิง (Bos gaurus laosiensis) บริเวณคลองปลากั้ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระทิง (Bosg aurus laosiensis) เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีพฤติกรรมการเดินหากินไปเรื่อยๆ บริเวณที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ป่าแนวกันชนมักพบกระทิงเข้ามาหากินบ่อยครั้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชอาหาร และการเลือกกินอาหารของกระทิงบริเวณป่าแนวกันชนของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองปลากั้ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยใช้วิธีนับยอดตามแนวเส้นสำรวจในช่วงเวลาระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 พบว่าพืชอาหารของกระทิง ทั้งหมด 43 ชนิด แบ่งเป็น พืชใบเลี้ยงคู่ 35 ชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 8 ชนิด เป็นพืชอาหารที่พบว่ากระทิงกินในช่วงฤดูฝน 41 ชนิด มีค่าความหลากหลาย เท่ากับ 2.88 ขณะที่พบในช่วงฤดูแล้ง 25 ชนิด มีค่าความหลากหลาย เท่ากับ 2.34 และค่าดัชนีความคล้ายคลึงของชนิดพืชอาหารระหว่างฤดูกาล เท่ากับ ร้อยละ 53.5 ส่วนที่กิน ได้แก่ ใบ ยอด ดอก และผล ช่วงฤดูฝนกระทิงเลือกกินไม้ต้นและไม้พุ่มเป็นส่วนใหญ่ เช่น มะกายคัด (Mallotus philippensis Mull. Arg.) ส้านใหญ่ (Dillenia obovata (Blume) Hoogland) ขี้อ้น (Helicteres lanata (Teijsm. & Binn.) Kurz) และสอยดาว (Mallotus paniculatus Mull. Arg.) มากที่สุด ส่วนช่วงฤดูแล้งกิน เชียด (Cinnamomum iners Reinw. ex Blume) และมันราก (Dioscoreag labra Roxb.) มากที่สุด กระทิงมีการปรับพฤติกรรมการกินอาหารตามฤดูกาล โดยช่วงฤดูแล้งพืชบางชนิดมีน้อยเนื่องจากเหี่ยวเฉาและการผลัดใบตามธรรมชาติ ทำให้มีปริมาณพืชอาหารลดลง กระทิงจึงปรับการกินอาหารโดยเลือกกินพืชอาหารระดับรองที่พบในช่วงฤดูฝนแทน คิดเป็นร้อยละ 13.6 เมื่อเปรียบเทียบกับพืชอาหารของช้างพบว่ามีระดับใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 45.5 ของชนิดอาหาร
คำสำคัญ: กระทิง ความหลากหลาย พืชอาหาร อัตราการเลือกกิน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”