การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมในโครงการทับทิมสยาม 08 จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรป่าไม้ และวิเคราะห์สถานภาพโครงการเพื่อกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการประเมินชุมชนอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal, PRA) โดยใช้การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสำรวจป่าเป็นเครื่องมือหลัก หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสถิติ ได้แก่ การสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของหมู่ไม้ และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ระหว่างองค์ประกอบของระบบในโครงการทับทิมสยาม 08 เพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งหมด 37 ชนิด โดยประดู่ป่า นนทรีป่า พฤกษ์ สะเดา และกระถินยักษ์ เป็นไม้เด่นในพื้นที่ และผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า โครงการทับทิมสยาม 08 ควรดำเนินกลยุทธ์เชิงแก้ไข เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ และปรับปรุงระบบการจัดทำฐานข้อมูล ปรับปรุงโครงสร้างบุคลากร อุปกรณ์ และระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ เพื่อรองรับกิจกรรมที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมการฟื้นฟูตามแนวพระราชดำริ กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐานในการกำหนดเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน
คำสำคัญ: การบริหาร การจัดการ การมีส่วนร่วม ทรัพยากรป่าไม้ โครงการทับทิมสยาม 08
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”