การมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่าพื้นที่สวนป่าแม่ตื่น ตำบลท้องฟ้า อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนและปัจจัย ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่าพื้นที่สวนป่าแม่ตื่น ตำบลท้องฟ้า อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก การศึกษาได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน หรือผู้แทนครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 308 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีชาติพันธุ์เป็นคนไทย มีระดับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 7.17 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมและมีอาชีพรองรับจ้างทั่วไป โดยมีรายได้ของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 117,903.28 บาท และส่วนใหญ่มีลักษณะพื้นที่ถือครองที่ดินเป็นของตนเอง โดยมีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 42.35 ปี และมีระยะห่างระหว่างที่อยู่อาศัยกับพื้นที่เกิดไฟป่าเฉลี่ย 2.52 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เคยมีการใช้ประโยชน์จากสวนป่า เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องไฟป่าไม่เคยได้รับการฝึกอบรม และมีความรู้เกี่ยวกับไฟป่าระดับน้อย
สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่า อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ มีค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมเท่ากับ 2.22 คะแนน ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่าพื้นที่สวนป่าแม่ตื่น ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพรอง รายได้ของครัวเรือนต่อปี ระยะห่างระหว่างที่อยู่อาศัยกับพื้นที่เกิดไฟป่า การใช้ประโยชน์จากสวนป่า และการได้รับการฝึกอบรมด้านไฟป่า
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน การควบคุมไฟป่า สวนป่าแม่ตื่น จังหวัดตาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”