การเปรียบเทียบการประมาณค่าการสูญเสียดินโดยแบบจำลอง USLE, MMF และ RMMF บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประมาณค่าการสูญเสียดินในครั้งนี้ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสร้างแปลงทดลองการสูญเสียดินบนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย การไถพรวนขึ้นลง 1 แปลง ปลูกข้าวโพดหวาน 2 แปลง ปลูกมะขามหวาน 2 แปลง และป่าปลูกผสม 3 แปลง ทำการตรวจวัดตะกอนดินจริงในพื้นที่ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม 2549 รวม 6 เดือน ปริมาณตะกอนดินที่ได้จากการตรวจวัดจากแปลงไถพรวนขึ้นลง ปลูกข้าวโพดหวาน ปลูกมะขามหวาน และป่าปลูกผสม เท่ากับ 9.04, 2.09, 3.41 และ 0.40 ตันต่อไร่ต่อ 6 เดือน ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง USLE, MMF และ RMMF โดยใช้ C-factor ได้แก่ C-factor ของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) จากวิธี EI30max และจากวิธีหาอัตราส่วน พบว่า แบบจำลอง USLE ให้ผลการประมาณถูกต้องมากที่สุดในแปลงป่าปลูกผสม เมื่อใช้ C-factor จากวิธี EI30max มีค่าประมาณการสูญเสียดินเท่ากับ 0.81 ตันต่อไร่ต่อ 6 เดือน มีค่า SSE เท่ากับ 0.04 สำหรับแบบจำลอง MMF ให้ผลการประมาณถูกต้องมากที่สุดในแปลงป่าปลูกผสม เมื่อใช้ C-factor จากวิธี EI30max และวิธีหาอัตราส่วน มีค่าประมาณการสูญเสียดินเท่ากัน คือ 0.21 ตันต่อไร่ต่อ 6 เดือน มีค่า SSE เท่ากัน คือ 0.04 สำหรับแบบจำลอง RMMF ให้ผลการประมาณถูกต้องมากที่สุดในแปลงป่าปลูกผสม เมื่อใช้ C-factor จากวิธี EI30max และวิธีหาอัตราส่วน มีค่าประมาณการสูญเสียดินเท่ากัน คือ 0.21 ตันต่อไร่ต่อ 6 เดือน มีค่า SSE เท่ากัน คือ 0.04 นอกจากนี้แบบจำลอง MMF และ RMMF ต้องการพารามิเตอร์นำเข้าสมการและขั้นตอนในการคำนวณสลับซับซ้อนกว่าแบบจำลอง USLE เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบผลการประมาณกับลำดับวันที่ตรวจวัดตะกอนดิน พบว่า แบบจำลอง MMF และ RMMF ไม่เกิดตะกอนดินซึ่งตรงกับวันที่ 75 และ 90 ในแปลงปลูกมะขามหวาน และไม่เกิดตะกอนดินซึ่งตรงกับวันที่ 60, 75, 105 และ 120 ในแปลงป่าปลูกผสม ขณะที่พบปริมาณตะกอนดินที่ได้จากการตรวจวัดทุกครั้ง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแบบจำลอง USLE ยังเหมาะสมที่สุดที่เป็นตัวแทนสมการในการประมาณค่าการสูญเสียดินในพื้นที่ศึกษานี้
คำสำคัญ: การประมาณค่าการสูญเสียดิน ปริมาณตะกอนดินที่ได้จากการตรวจวัด แบบจำลอง USLE, MMF และ RMMF ลุ่มน้ำชุน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”