ผลผลิตมวลชีวภาพ และปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช ในป่าชายเลนชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด

Main Article Content

นรารัตน์ พัฒนสิงห์
ลดาวัลย์ พวงจิตร
มณฑล จำเริญพฤกษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเชิงปริมาณของป่าชายเลนชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด โดยการศึกษาดัชนีความสำคัญมวลชีวภาพและปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช ผลการศึกษา พบว่า ป่าชายเลนชุมชนบ้านเปร็ดใน มีพรรณไม้จำนวน 10 ชนิด ค่าดัชนีความหลากชนิดของพรรณไม้เท่ากับ 0.56 พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญสูงที่สุดคือ โปรงแดง (Ceriops tagal) มีค่าเท่ากับ 86.55 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นไม้ยืนต้นเท่ากับ 2,977.78 ต้นต่อเฮกแตร์ ความหนาแน่นของไม้รุ่นรวมทุกชนิดเท่ากับ 7,222.22 ต้นต่อเฮกแตร์ และความหนาแน่นของกล้าไม้รวมทุกชนิดเท่ากับ 8,333.33 ต้นต่อเฮกแตร์ ความสูงเฉลี่ยของพรรณไม้ทุกชนิดเท่ากับ 7.40 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของพรรณไม้ทุกชนิดเท่ากับ 9.31 เซนติเมตร มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้นรวมทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 113.70 ตันต่อเฮกแตร์ โดยมีอัตราการร่วงหล่นของซากพืชเท่ากับ 8.75 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี อัตราการร่วงหล่นมากที่สุดในเดือน พฤศจิกายน ความเข้มข้นของสารอาหารในซากพืชที่ร่วงหล่นนั้นพบว่าร้อยละความเข้มข้นของสารอาหารที่มีปริมาณมากที่สุดคือ แคลเซียม และ น้อยที่สุด คือ ฟอสฟอรัส ตามลำดับ คิดเป็นปริมาณสารอาหาร แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียมโพแตสเซียม และฟอสฟอรัส ที่อยู่ในซากพืชเท่ากับ 2.09, 0.87, 0.79, 0.45 และ 0.09 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี ตามลำดับ


 


คำสำคัญ: มวลชีวภาพ ป่าชายเลน ปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช

Downloads

Article Details

How to Cite
พัฒนสิงห์ น. . ., พวงจิตร ล. ., & จำเริญพฤกษ์ ม. . (2022). ผลผลิตมวลชีวภาพ และปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช ในป่าชายเลนชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด. วารสารวนศาสตร์ไทย, 31(3), 15–24. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/255614
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ