การพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรที่อาศัยอยู่รอบป่ากันชนของ ป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ย แขวงไซยบุรี ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ และสังคม การพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้และปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรที่อาศัยอยู่รอบป่ากันชนของป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ราษฎรที่อาศัยอยู่รอบป่ากันชนของป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ย จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.04 ปี ส่วนใหญ่มีเผ่าพันธุ์เป็นลาวลุ่ม จบการศึกษาระดับชั้นประถม อาชีพหลักทำนา ร้อยละ 65.93 มีอาชีพรอง ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน เฉลี่ย 37.02 ปี มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 13.53 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 73,996.46 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ย 44,505.31 บาทต่อปี ราษฎรร้อยละ 95.54 ได้รับข้อมูลข่าวสารในการอนุรักษ์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 98.23 เข้าร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ที่ราษฎรพึ่งพิง ได้แก่ ฟืน ไม้ ไผ่ พืชสมุนไพร ผลไม้ หน่อไม้ หวาย เห็ด และแมลงกินได้ โดยมีมูลค่าเท่ากับ 5,880,007.28 บาท
การทดสอบสมมติฐานพบว่าระดับการศึกษา อาชีพหลัก การมีอาชีพรอง จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขนาดพื้นที่ที่ถือครอง รายได้ของครัวเรือน และการเข้าร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ของราษฎรต่างกันมีการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่กันชนของป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนในการจัดการพื้นที่ป่ากันชนของป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ยได้
คำสำคัญ: การพึ่งพิง ป่าไม้ ป่ากันชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”