การประยุกต์ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการในการจัดการพื้นที่กางเต็นท์ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเกณฑ์ในการกำหนดช่วงชั้น และทำการจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการสำหรับพื้นที่กางเต็นท์บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บ้านกร่าง และพะเนินทุ่ง ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเพื่อให้ทราบความต้องการด้านนันทนาการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยใช้แบบสำรวจด้านกายภาพและการจัดการ และแบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 390 ตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถ่วงน้ำหนักและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่า t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา จากการประเมินปัจจัยด้านกายภาพและการจัดการ พบว่า พื้นที่กางเต็นท์บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีค่าคะแนน 1.08 จัดอยู่ในช่วงชั้นพื้นที่กางเต็นท์ธรรมชาติที่พัฒนามาก บ้านกร่าง มีค่าคะแนน 2.30 จัดอยู่ในช่วงชั้นพื้นที่กางเต็นท์ธรรมชาติที่พัฒนาบ้าง และพะเนินทุ่ง มีค่าคะแนน 2.64 จัดอยู่ในช่วงชั้นพื้นที่กางเต็นท์กึ่งสันโดษ แต่จากการประเมินปัจจัยด้านสังคม พบว่า พื้นที่กางเต็นท์ทั้ง 3 แห่ง จัดอยู่ในประเภทพื้นที่กางเต็นท์กึ่งสันโดษ จากผลการทดสอบความแตกต่างของประสบการณ์นันทนาการที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจะได้รับและที่ได้รับจริง มีเพียงบริเวณพื้นที่กางเต็นท์พะเนินทุ่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.542, p-value = 0.012) ดังนั้น สรุปได้ว่าช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการที่เหมาะสม ของพื้นที่กางเต็นท์ทั้ง 3 แห่ง คือ พื้นที่กางเต็นท์กึ่งสันโดษ โดยเน้นการประกอบกิจกรรมกางเต็นท์พักแรมที่ให้ประสบการณ์การได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ความเงียบสงบ สันโดษ ได้พึ่งพาตนเองในระดับที่มาก ต้องการความเป็นอิสระจากการควบคุมของเจ้าหน้าที่ แต่ขณะเดียวกันยังต้องการความสะดวกในการเข้าถึง และความสะดวกสบายโดยรวมในพื้นที่จากการพัฒนาด้านกายภาพและการจัดการ พร้อมทั้งยอมรับการพบปะนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นด้วยเช่นกัน แต่ต้องไม่มากจนทำให้ระดับประสบการณ์เปลี่ยนแปลงไป
คำสำคัญ: ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ พื้นที่กางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”