บทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน กรณีศึกษา โครงการชลประทานจอมทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานรวมทั้งบทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานและปัจจัยที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำในโครงการชลประทานจอมทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานในเขตโครงการจอมทอง จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test สถิติ F-test และวิเคราะห์รายคู่โดยใช้สถิติ Scheffe กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
กลุ่มผู้ใช้น้ำที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 40-49 ปี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา มีตำแหน่งทางสังคมในชุมชนเป็นลูกบ้าน มีสมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 5-6 คน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตั้งแต่เกิด ถือครองที่ดินน้อยกว่า 1 เฮกแตร์ อาชีพหลักเกษตรกร อาชีพรองคือ ทำการปลูกพืชต่างๆ รายได้รวมของครอบครัวต่อปีมากกว่า 16,000 บาทขึ้นไป สำหรับบทบาทการจัดการน้ำชลประทานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการชลประทาน พบว่า กลุ่มผู้ใช้น้ำมีความคิดเห็นต่อภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการดูแลและบำรุงรักษา ด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ชลประทาน ด้านการจัดการน้ำชลประทาน และด้านการบริหารงานในกลุ่มผู้ใช้น้ำ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำในโครงการชลประทานจอมทอง นครหลวงเวียงจันทน์ได้แก่ อาชีพหลัก รายได้ของครอบครัวต่อปี การมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้น้ำจากพื้นที่ การจัดการทำแผนในการใช้น้ำ การประชุมเพื่อวางแผนการใช้น้ำสู่พื้นที่การเกษตร ความเพียงพอของปริมาณน้ำใช้ต่อพื้นที่การเกษตร การมีส่วนร่วมในการวางแผนการกระจายน้ำ (จัดสรรน้ำ) การจัดรอบเวรการรับน้ำ และสภาพคูส่งน้ำและอาคารชลประทานในเขตพื้นที่เพาะปลูก
คำสำคัญ: บทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำ น้ำชลประทาน การบริหารจัดการ เวียงจันทน์ ลาว
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”