ผลกระทบทางนันทนาการด้านชีวกายภาพบางประการและ ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางนันทนาการ การรับรู้ของผู้มาเยือนต่อผลกระทบทางนันทนาการ และกำหนดระดับการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ของผลกระทบทางนันทนาการด้านชีวกายภาพบางประการ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยเก็บข้อมูลผลกระทบทางนันทนาการด้านชีวกายภาพบางประการ จาก 9 ตัวชี้วัด คือ 1) ร่องรอยการกร่อนของดิน 2) ปริมาณรากไม้โผล่พ้นดิน 3) ร่องรอยความเสียหายของลำต้นไม้ใหญ่ 4) ร่องรอยการหักเด็ดกิ่งไม้ใบไม้ 5) ปริมาณพืชคลุมดิน 6) ปริมาณขยะ 7) ร่องรอยการเดินออกนอกเส้นทาง 8) ความขุ่นของน้ำ และ 9) ของแข็งแขวนลอยในน้ำ บริเวณแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติ 3 แหล่ง คือ บ้านกร่างแคมป์ เขาพะเนินทุ่ง และน้ำตกป่าละอู ทำการเก็บข้อมูลในฤดูแล้งและฤดูฝน เก็บข้อมูลการรับรู้ของผู้มาเยือนต่อผลกระทบทางนันทนาการด้านชีวกายภาพบางประการด้วยแบบสอบถาม จำนวน 417 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance)
ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ต่างกัน ปริมาณพืชคลุมดินและปริมาณรากไม้โผล่พ้นดินในสังคมพืชป่าดิบเขาและป่าดิบแล้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในฤดูกาลแตกต่างกันปริมาณพืชคลุมดินของสังคมพืชป่าดิบเขา ปริมาณพืชคลุมดินของสังคมพืชป่าดิบแล้ง ความขุ่นของแหล่งน้ำ และของแข็งแขวนลอยในน้ำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่าผลกระทบทางนันทนาการจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีการประกอบกิจกรรมโดยตรงมากกว่าบริเวณอื่นและมีความผันแปรตามช่วงเวลา ในส่วนผลการศึกษาการรับรู้ผลกระทบทางนันทนาการด้านชีวกายภาพบางประการ พบว่า ผู้มาเยือนส่วนใหญ่รับรู้ว่าแหล่งนันทนาการเกิดผลกระทบทางนันทนาการในระดับปานกลาง และจากผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทั้ง 9 ตัวชี้วัด
คำสำคัญ: ผลกระทบทางนันทนาการ ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”