คุณสมบัติของดินและความหลากหลายของพืชในสวนหลังบ้าน อำเภอสอง จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติของดินและความหลากหลายของพืชในสวนหลังบ้าน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 16 สวนหลังบ้าน อายุของสวนหลังบ้านตั้งแต่ 4-70 ปี สวนหลังบ้านมีขนาดตั้งแต่ 100-1,050 ตารางเมตร ชนิดพืชที่สำรวจพบทั้งสิ้น 168 ชนิด ลักษณะรูปชีวิตของพืชที่พบประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เถาว์ โดยมีค่าร้อยละ 44.0, 25.0, 17.3 และ 13.7 ตามลำดับ พืชที่พบในการใช้ประโยชน์เป็นพืชอาหาร ไม้ประดับ ไม้ผล มีค่าร้อยละ 32.1, 20.2 และ 15.5 ตามลำดับ พืชที่สำรวจพบในสวนหลังบ้านที่พบมากสุดในพื้นที่สวนหลังบ้านที่ศึกษาได้แก่ มะม่วง (Mangifera indica) กล้วย (Musa sapientum) มะขาม (Tamarindus indica) ขนุน (Artocarpus heterophyllus) และลำไย (Dimocarpus longan) ซึ่งปลูกเป็นไม้ผล ข่า (Alpinia siamense) เถาว์ย่านาง (Tiliacora triandra) มะอึก (Solanum barbisetum) และชะอม (Acacia pennata) ใช้เป็นอาหาร ชนิดพืชที่พบเหมือนกันในพื้นที่สวนหลังบ้านทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ กล้วย และข่า รูปชีวิตของพืชที่พบในพื้นที่สวนหลังบ้านใกล้แม่น้ำส่วนมากจะเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เถาว์ที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารเป็นหลัก ส่วนชนิดพืชที่พบในสวนหลังบ้านที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำออกไปพบไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย มะขาม ขนุน และ กระท้อน (Sandoricum koetjape) ดินในสวนหลังบ้านส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนปนทรายที่มีดินเหนียวปน ดินชั้นบนและดินชั้นล่างมีความเป็นกรดต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารสูง ปริมาณแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ของดินอิ่มตัวไปด้วยเบส มีปริมาณค่า Ca ที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ในภาคเหนือของไทยพบว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ภายใต้การทำสวนหลังบ้านมีค่าสูงเพิ่มขึ้นตามระดับความลึกของดิน จากดินชั้นบนจนถึงดินชั้นล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับสวนหลังบ้านในพื้นที่อื่นๆ และการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นในภาคเหนือของไทย
คำสำคัญ: คุณสมบัติของดิน ความหลากหลายของพืช สวนหลังบ้าน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”