มูลค่าด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

จิตร บุญตา
สันติ สุขสอาด
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีต้นทุนการเดินทางระดับเขต (zonal travel cost method, ZTCM) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประกอบกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณจำนวน 634 ตัวอย่างและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ยและสมการถดถอยโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.32  มีอายุเฉลี่ย 29.4 ปี นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 96.06 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 44.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 29.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,254.86 บาท เดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นครั้งแรกร้อยละ 50.00  วัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 95.58 ทราบข้อมูลการท่องเที่ยวจากเพื่อน/ญาติพี่น้องร้อยละ 70.03 มีรูปแบบการท่องเที่ยวแบบมาเช้า-เย็นกลับร้อยละ 69.09 มากับกลุ่มครอบครัวร้อยละ 50.63 มีจำนวนสมาชิกในกลุ่มเฉลี่ย 7.37 คน เดินทางมาโดยรถยนต์ส่วนบุคคลร้อยละ 78.55 โดยสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการมาท่องเที่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางคือ   Qh =  7,128,530,301Tch– 2.968  ค่า R2 = 0.914 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มูลค่าด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณมีค่าเท่ากับ 206,331,138 บาทต่อปีและมูลค่าด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณที่จัดการอย่างยั่งยืนมีค่าเท่ากับ 6,309,820,734 บาท ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเอราวัณทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการ ด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการได้อย่างเหมาะสม


 


คำสำคัญ: นันทนาการ   การประเมินมูลค่า   อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ