การประเมินศักยภาพเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะไกลในอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะทางกายภาพของเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะไกล การใช้ประโยชน์ สภาพปัจจุบันของเส้นทาง และประเมินศักยภาพทรัพยากรนันทนาการทางกายภาพในเส้นทางในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา และอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 10 เส้นทาง
ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะไกลทั้งหมดมีระยะทางอยู่ในช่วง 3-12 กิโลเมตร ไม่มีการพักค้าง 7 เส้นทาง ส่วนใหญ่ต้องใช้คนนำทาง จุดเด่น คือ ทิวทัศน์ ชนิดพันธุ์พืชหายากหรือชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น ความหลากหลายของสังคมพืช นก ผีเสื้อ น้ำตก และถ้ำ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวคือ เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม สิ่งอำนวยความสะดวกที่พบส่วนใหญ่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัย ขนาดกลุ่มในการเดินอยู่ในช่วง 10-15 คนต่อกลุ่ม เส้นทางส่วนใหญ่มีความลาดชันอยู่ในระดับปานกลาง (อยู่ในช่วงร้อยละ 10-20) เส้นทางที่มีความลาดชันสูงสุด คือ ยอดดอยเวียงผา (คิดเป็นร้อยละ 20.64) อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา การศึกษาสภาพปัจจุบันของเส้นทางโดยใช้วิธีการประเมินอย่างรวดเร็ว (Rapid Assessment) พบว่ามีรากไม้โผล่พ้นดิน และการกร่อนของดินในเส้นทางอยู่ในระดับสูง
การประเมินศักยภาพเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะไกล โดยใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 19 ตัวชี้วัด และใช้สมการถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย (Weighting Score Equation) ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ น้ำพุร้อน-กิ่วลม ยอดดอยฟ้าห่มปก และโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก และเส้นทางยอดดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
คำสำคัญ: การประเมินศักยภาพ ทรัพยากรนันทนาการ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะไกล อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”