ลักษณะโครงสร้างของประชากรแมลงในพื้นที่ฟื้นฟูบูรณะผลผลิตใหม่ ณ พื้นที่เหมืองหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะโครงสร้างของประชากรแมลงในสังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูบูรณะผลผลิตใหม่ในพื้นที่เหมืองหินปูนในพื้นที่ปลูกฟื้นฟูโซน C พื้นที่ปลูกฟื้นฟูโซน A พื้นที่เคยฟื้นฟูมาก่อน ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหลากชนิดและถิ่นการกระจายของแมลงรวมทั้งความหนาแน่นของประชากรแมลงในดินในพื้นที่เหมืองหินปูนภายหลังทำการฟื้นฟูบูรณะผลผลิตใหม่และศึกษาการแปรผันของประชากรแมลงในแต่ละช่วงฤดูกาลของแต่ละพื้นที่ศึกษา
ผลการศึกษาพบความหลากชนิดของแมลงในดินในพื้นที่ทั้งหมดพบแมลงทั้งหมด 11 อันดับ 24 วงศ์ 37 สกุล 43 ชนิด โครงสร้างความหลากหลายของแมลง พบว่าค่าดัชนีความหลากหลายในป่าดิบแล้งช่วงฤดูแล้งมีค่าสูงสุด คือ 2.44 และพื้นที่โซน C ช่วงฤดูแล้ง มีค่าน้อยที่สุด คือ 0.86 ส่วนค่าความคล้ายคลึง พบว่า ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของแมลงระหว่างฤดูฝนและฤดูแล้งในแต่ละพื้นที่มีค่าใกล้เคียงร้อยละ 60 แสดงถึงการปรับตัวของแมลงได้ทั้งสองฤดู และความหนาแน่นของแมลง พบว่า ป่าดิบแล้งมีค่าความหนาแน่นช่วงฤดูฝนของแมลงสูงสุดคือ 2,850 ตัวต่อตารางเมตร และองค์ประกอบของชนิดแมลงในแต่ละพื้นที่จัดเป็นแมลงพวกผู้ย่อยสลายซึ่งชนิดแมลงที่เด่นในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ แมลงกลุ่มมด ด้วงดิน และปลวก ซึ่งถือว่ามีบทบาทต่อโครงสร้างของดินเป็นอย่างมาก และส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองอีกด้วย
คำสำคัญ: ประชากรแมลง การฟื้นฟูบูรณะผลผลิตใหม่ พื้นที่เหมืองหินปูน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”