อุปสงค์ที่มีต่อไม้สักแปรรูปของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่ออุปสงค์ที่มีต่อไม้สักแปรรูปของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานคร คาดคะเนการใช้ไม้สักแปรรูปของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานครในอนาคต และประเมินพื้นที่สวนสักที่สามารถดำเนินการเพิ่มขึ้นได้เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เกิดขึ้นในอนาคตในช่วงระยะเวลา 5 ปี ต่อไป (ปี พ.ศ. 2554-2558) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 73 โรง และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสมการถดถอย โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคำนวณหาค่า Durbin Watson เพื่อใช้ในการทดสอบหาสมการที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ที่มีต่อไม้สักแปรรูปของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานคร คือ ราคาไม้สักแปรรูป โดยมีระดับนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 จากการคาดการณ์ปริมาณอุปสงค์ที่มีต่อไม้สักแปรรูปในช่วงระยะเวลา 5 ปีต่อไป (ปี พ.ศ. 2554-2558) พบว่า มีแนวโน้มลดลงทุกปี และจากการประเมินหาพื้นที่ปลูกไม้สักเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เกิดขึ้นในอนาคต พบว่าความต้องการใช้ไม้สักในปีสูงสุดเมื่อนำไปคิดเทียบกับไม้ซุงมีค่าเท่ากับ 23,016.7 ลูกบาศก์เมตร จึงต้องใช้พื้นที่ปลูก 1,494.6 ไร่ต่อปี ซึ่งรอบหมุนเวียนของสวนป่าไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เท่ากับ 30 ปี ดังนั้นพื้นที่สวนสักที่เหมาะสมของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานครเท่ากับ 44,838 ไร่ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปวางแผนงานการส่งเสริมการปลูกไม้สักทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีปริมาณที่เพียงพอกับอุปสงค์ของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ในกรุงเทพมหานครรวมไปถึงอุปสงค์ภายในประเทศได้
คำสำคัญ: อุปสงค์ ไม้สักแปรรูป โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ กรุงเทพมหานคร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”