การตลาดของผลิตภัณฑ์ไม้ประกอบพลาสติกในประเทศไทย

Main Article Content

ศุภศิษย์ ศรีอักขรินทร์
สันติ สุขสอาด
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว
ทรงกลด จารุสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต การตลาด และพลังกดดันการแข่งขันทั้ง 5 ประการของผลิตภัณฑ์ไม้ประกอบพลาสติกในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด


ผลการศึกษา พบว่า ในปี พ.ศ. 2552 มีผู้ประกอบการ 5 ราย วัตถุดิบหลักในการผลิต ได้แก่ ขี้เลื่อยไม้และพลาสติก ปริมาณการผลิต 4,983 ลูกบาศก์เมตร และมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี พบปัญหาการผลิต ได้แก่ ราคาพลาสติก ราคาและคุณภาพขี้เลื่อย การขาดแรงงาน เครื่องจักรมีสภาพเก่า ผลิตภัณฑ์จำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ ชนิดเนื้อตัน ชนิดเนื้อกลวง และชนิดรูปตัว C โดยใช้คลิปล๊อก ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดมีความหนาและกว้างตั้งแต่ 0.8-5.0 และ 1.3-30 เซนติเมตร ตามลำดับ มีความยาว 2.5-6.0 เมตร มีการจำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 92 โครงสร้างตลาดเป็นแบบผู้ขายน้อยราย ปัญหาการตลาด ได้แก่ การเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด การนำเข้าที่มีราคาถูกกว่า การไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์พลังกดดันการแข่งขันทั้ง 5 พบว่า คู่แข่งมีการแข่งขันในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการผลิตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงในการตั้งโรงงาน ซื้อเครื่องจักร และจ้างบุคลากรที่มีความสามารถ สินค้าทดแทน ได้แก่ ไวนิล แผ่นไม้อัดซีเมนต์ และไม้แปรรูป ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองสูงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตมีอำนาจต่อรองเนื่องจากพลาสติกถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมและขี้เลื่อยมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น


 


คำสำคัญ: การตลาด  ไม้ประกอบพลาสติก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ