พฤติกรรมการอนุรักษ์ของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Main Article Content

สุวคนธ์ ภาคีไวย
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว
สันต์ เกตุปราณีต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์จำนวน 350 คน ด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ขณะเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้ด้านการอนุรักษ์ แรงจูงใจภายในด้านการคิดว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญ และมีความรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อได้แสดงพฤติกรรมการอนุรักษ์ เป็นต้น โดยก่อให้เกิดความผันแปรในพฤติกรรมประมาณร้อยละ 39.6 (F =  8.941; p-value = 0.001; r2 = 0.396) และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ในชีวิตประจำวันมี 3 ปัจจัย ได้แก่  แรงจูงใจภายในด้านความต้องการช่วยลดภาวะโลกร้อน  ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ของโรงเรียน และอายุ โดยก่อให้เกิดความผันแปรในพฤติกรรมประมาณร้อยละ 18.1 (F = 3.009; p-value = 0.001; r2 = 0.181)


 


คำสำคัญ:  พฤติกรรมการอนุรักษ์ เยาวชน ค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ