การเติบโตของไม้สักในสวนป่าที่ไม่ผ่านการตัดขยายระยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางและพื้นที่หน้าตัดที่ระดับความสูงเพียงอกของไม้สักที่ไม่ผ่านการตัดขยายระยะในสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในท้องที่ จังหวัดลำปาง โดยทำการศึกษาในสวนป่าแม่จาง สวนป่าแม่มาย และสวนป่าแม่เมาะ เก็บตัวอย่างไส้ไม้ทั้งหมด 72 ไส้ไม้ จากไม้ตัวอย่าง 36 ต้นและทำการวิเคราะห์การเติบโตของไม้สักโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์วงปีไม้
ผลการศึกษาพบว่า สวนป่าไม้สักที่มีอายุ 23-24 ปี ที่ไม่ผ่านการตัดขยายระยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 15.03-18.65 เซนติเมตร โดยสวนป่าที่มีระยะปลูก 2x4 เมตร และ 4x4 เมตร มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุ 10-12 ปี และที่อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ มีอัตราการเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกเฉลี่ยระหว่าง 0.951-1.220 เซนติเมตรต่อปี และอัตราการเติบโตของพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ยระหว่าง 7.467x10-5- 9.585x10-5 ตารางเมตรต่อปี ตามลำดับ
ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตัดขยายระยะครั้งแรกควรเป็นช่วงเวลาที่อัตราการเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางและพื้นที่หน้าตัดของต้นไม้เริ่มลดลง นั้นคือช่วงอายุ 10-12 ปี และที่อายุ 5-9 ปี ที่ระยะปลูก 2x4 เมตร และ 4x4 เมตร ตามลำดับ ซึ่งการตัดขยายระยะในช่วงการเติบโตดังกล่าวจะส่งผลให้การเติบโตไม้สักเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ: การเติบโต ไม้สัก การตัดขยายระยะ การวิเคราะห์วงปีไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”