การแปรผันของลักษณะทางสรีรวิทยาของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส สายพันธุ์ต่างๆ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรผันทางพันธุกรรมของการเติบโต และลักษณะทางสรีรวิทยา (อัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด การชักนำของปากใบ การคายน้ำ ประสิทธิภาพในการใช้น้ำของใบ และค่าชลศักย์ของใบ) ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโต ของยูคาลิปตัส จำนวน 10 สายพันธุ์ ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรการเติบโตทุกตัวแปรที่ศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติระหว่างสายพันธุ์ (p<0.01) ในขณะที่ลักษณะทางสรีรวิทยาทุกลักษณะที่ศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติระหว่างฤดูกาล (p<0.01) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสายพันธุ์ (p>0.05) อย่างไรก็ตาม สามารถจำแนกแนวโน้มการแปรผันตามฤดูกาลของลักษณะทางสรีรวิทยาออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มของสายพันธุ์ที่ลักษณะทางสรีรวิทยามีการแปรผันในแต่ละฤดูกาลค่อนข้างมาก และปานกลาง และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยค่อนข้างต่ำในทุกฤดูกาล ดังนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรลักษณะทางสรีรวิทยากับการเติบโต เพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่สามารถเติบโตและปรับตัวได้ดีในพื้นที่ปลูกต่อไป
คำสำคัญ: ลักษณะทางสรีรวิทยา ยูคาลิปตัส สายพันธุ์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”