การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วสันต์ จันทร์แดง
ลดาวัลย์ พวงจิตร
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัสครั้งนี้ ได้ทำการศึกษา ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกักเก็บคาร์บอนและเปรียบเทียบศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนระหว่างป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส อายุ 1-4 ปี ดำเนินการศึกษาโดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 40 X 40 เมตร ในสวนป่ายูคาลิปตัส ชั้นอายุละ 1 แปลง และป่าเต็งรังจำนวน 4 แปลงทำการวัดมิติต่างๆ ของต้นไม้ได้แก่ ความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก เพื่อนาไปประมาณหามวลชีวภาพเหนือดินและใต้ดิน ด้วยสมการแอลโลเมตรี และทำการเก็บตัวอย่างดินแปลงตัวอย่างละ 3 หลุม แต่ละหลุมเก็บดินที่ 3 ระดับความลึก คือ 0-20, 20-40 และ 40-60 เซนติเมตร ตามลำดับ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ โดยใช้วิธี dry combustion


ผลการศึกษาพบว่า สวนป่ายูคาลิปตัส อายุ 3 ปี มีการสะสมคาร์บอนรวมมากที่สุด เท่ากับ 64.70 ตันต่อเฮกแตร์ รองลงมาได้แก่ สวนป่ายูคาลิปตัส อายุ 4 ปี ป่าเต็งรัง สวนป่ายูคาลิปตัส อายุ 2 ปี และสวนป่ายูคาลิปตัส อายุ 1 ปี มีค่าเท่ากับ 60.41, 58.36, 54.55 และ 48.48 ตัน/เฮกแตร์ ตามลำดับ ความแตกต่างของการสะสมคาร์บอนขึ้นอยู่กับมวลชีวภาพของไม้ยืนต้นมากกว่าคาร์บอนในดิน แต่อย่างไรก็ตามป่าเต็งรังหรือสวนป่ายูคาลิปตัสต่างก็มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศป่าเขตร้อน ดังนั้นควรหาแนวทางลดการทำลายป่าและเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


 


คำสำคัญ: มวลชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอน ป่าเต็งรัง สวนป่ายูคาลิปตัส สวนป่ามัญจาคีรี

Downloads

Article Details

How to Cite
จันทร์แดง ว. ., พวงจิตร ล. ., & ดิลกสัมพันธ์ ส. . (2022). การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์ไทย, 29(3), 36–44. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/255736
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ